เผ่าไทยญ้อ (ญ้อ)

เผ่าไทยญ้อ (ญ้อ)
 
              ประวัติความเป็นมาของชาวไทยญ้อ ถิ่นฐานเดิมของไทยญ้อ อยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ของประเทศลาวหรือจังหวัดลาวช้างของไทยสมัยหนึ่ง ไทยญ้อส่วนใหญ่ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไชบุรี ปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน) ในสมัยราชการที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๑ ต่อมาเมื่อเกิดกฎเจ้าอนุเวียงจันทน์ในสมัย รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๙) พวกไทยญ้อที่เมืองไชยบุรีได้ถูกกองทัพเจ้าอนุวงศ์กวาดต้านไปแล้วให้ไปตั้งเมืองอยู่ ณ เมืองปุงลิง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อยู่ในเขตแขวงคำม่วนประเทศลาว) อยู่ระยะหนึ่งต่อมาได้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตั้งเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ คือ บริเวณท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปั๗๗บัน
            นิสัยใจคอของไทยญ้อส่วนมากที่สุดคือ ซื่อสัตย์ สุจริต รักสงบ มีความสามัคีมั่น ไม่ว่าจะมีอะไรเช่นการทำบุญ การปลูกบ้าน ทำนาจะว่านหรือวานกัน (นาว่านคือ การลงแขก ทำนา ทำงาน)
            การแต่กายชุดรำไทยญ้อ
            ชาย สวมเสื้อคอพวงมาลัยสีเขียวสด ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพับครึ่งกลาง พาดไหล่ ซ้ายและขวา ปล่อยชายสองข้างไปด้านหลังให้ชายเท่ากัน นุ่งผ้าโจงกระเบนสีน้ำเงินเข้ม ใช้สไบไหมสีแดงคาดเอว ปล่อยชายข้างซ้ายด้านหน้า เครื่องประดับสร้อยเงิน ห้อนพระ ใบหูทัดดอก ดาวเรืองด้านซ้าย
            หญิง สวมเสื่อแขนกระบอกสีชมพู (สีบานเย็น) คอกลมขยิบดำ หรือน้ำเงินเข้ม นุ่งผ้าถุงไหมสีน้ำเงินมีเชิง (ตีนจก) เข็มขัดลายชิดคาดเอว ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพาดไหล่ด้านซ้ายแบบเฉียงปล่อยชายยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้ชายเท่ากัน เครื่องประดับสร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยข้อมือเครื่องเงิน ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้สด หรือดอกไม้ประดิษฐ์ ปัจจุบันชาวไทยญ้อ
๘๐ % อยู่ที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า
            คำศัพท์ภาษาไทยญ้อ (ญ้อ)
            คำศัพท์                          คำอ่าน                           ความหมาย
            กิด                                กิด                                สั้น,น้อย
            กะโป๊                             กะ โป๊                            กะลา
            กะบวน                           กะ-บวน                          ดี, เข้าเท่า
            กะปอม                           กะ-ปอม                         กิ้งก่า
            กะเปา                            กะ-เปา                           เป๋า
            กะดัดกะด้อ                     กะ-ดัด-กะ-ด้อ                 เกินไป
            เกิบ                               เกิบ                               รองเท้า
            ก้องแขน                         ก้อง-แขน                                   กำลัยมือ
            กะเทิน                           กะ-เทิน                          ครึ่งๆ , กลางๆ
            กะแดะ                           กะ-แดะ                          แรด-ดัดจริต
            เก้อ                               เก้อ                               ใกล้
            กะโพด                           กะ-โพด                          เกินไป
            กั้งคันฮ่ม                         กั้ง-คัน-ฮ่ม                      กางร่ม
            กล้วยเหิ่ม                                    กล้วย-เหิ่ม                      กล้วยห่าม
            กับแก๊                            กับ-แก๊                           ตุ๊กแก
            กะหน่อง                         กะ-หน่อง                        ส้นเท้า
            ก่วย                               ก่วย                               ปัด
            เกิบตีนยอง                      เกิบตีนยอง                      เหม็นสาบ
            กองเลง                          กอง-เลง                         กลองสองหน้าที่ใช้ในงาน
                                                                                    ประเพณีให้เกิดความสนุก
            กะปาง                            กะ-ปาง                          รางอาหารสัตว์