เผ่าไทยโส้หรือไทยกะโซ่


เผ่าไทยโส้หรือไทยกะโซ่

เผ่าไทยโส้หรือไทยกะโซ่
            ชาวไทยโส้ในพื้นที่จังหวัดนครพนม เป็นชาวไทยตระกูลเดียวกันกับพวกบรู หรือพวกไทยข่า นักมนุษย์วิทยาถือว่าพวกไทยโซ่เป็นชาติพันธุ์ของมนุษย์ ในกลุ่มมองโกเลียด์ มีภาษาขนบธรรมเนียบประเพณีแตกต่างไปจากพวกไทยข่า แต่ภาษานั้นถือว่า อยู่ในตะกูลออสโตรอาเซียติดสาขามอญเขมรหรือตะตู ซึ้งสถาบันวิจัยภาษาฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดนได้รวบรวมไว้บดความเรื่อภาษาตระกูลไทย
            พวกกะโซ่ซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยราชการที่ ๓ ได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองหลายเมือง คือ เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเซียงฮ่ม ในแขวงสุวรรณเขต ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราช ขึ้นกับเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวบัว แห่งเมืองเชียงฮ่ม เป็นพระทัยประเทศ เป็นเจ้าเมืองเป็นคนแรก ปัจจุบันเป็นพื้นที่รามราช ตำบลพระทาย ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน ตำบลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนมเป็นหมู่บ้านชาวไทยโส้
            นอกจากนั้นยังมีชาวไทยโส้อยู่ในท้องที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมอีหลายหมู่บ้าน เช่น ตำบลโคกสูง และบ้านวังตามัว ในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม
            ศิลปะ วัฒนธรรมกะโส้ซึ่งรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื่อชาติ ที่เด่นชัดก็คือโซ่ทั่งบั้ง หรือภาษากะโซ่เรียกว่า สะลา เป็นพีการในการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือเรียกขวัญและรักษาคนป่วย กับพิธี ซางกระมูด ในงานศพ
            ๑. พิธีกรรม โซ่ทั่งบั้ง เป็นภาษาชาวไทยอีสานเรียกชื่อพิธีกรรมของชาวกะโซ่คำว่าโซ่ หมายถึง พวกกะโซ่ คำว่าทั่ง แปลว่ากระทุ้ง หรือกระแทก คำว่าบั้ง หมายถึงบ้องหรือกระบอกไม้ไผ่ โซ่ทั่งบั้ง ก็คือ การใช้บอกไม่ไผ่ยาวประมาณ ๓ ปล้อง กระทุ้งดินให้เป็นจังหวะและมีผู้ร่ายรำและร้องรำไปตามจังหวะในพิธีกรรมของชาวกระโซ่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งสมเด็จตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อสมเด็จถึงเมืองกุสุมาลย์ (อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙   ได้ทรงบันทึกการแสดงโซ่ ทั่งบั้งหรือสะลาไว้ว่า
            สลามีหม้อดินตั้งกลางแล้วมีคนต้นบทคนหนึ่ง คนสะพายหน้าไม้ และลูกสำหรับยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องเรียกว่าพระเนาะคนหนึ่งคนถือไม้ไผ่สามปล้องสำหรับกระทุงดิน รวมแปดคน เดินร้องรำเป็นวนเวียนไปมา พอพักหนึ่งก็ดื่มอุและร้องรำต่อไป…
            เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการปัจจุบันได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรจังหวัด นครพนม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งจังหวัดมุกดาหารยังรวมอยู่ในจังหวัดนครพนม ชาวไทยกะโซ่
ได้แสดงโส้ปั้งหรือสะลาทอดพระเนตรพร้อมกับร้องคำถวายพระพรเป็นภาษากะโซ่ว่า            เซินตะดกละแสง                         เซินแต่แซงมะนาง     เซินยอนางเอย    ดรุ๊กอีตู    จูเยก    ยางเอย        ดรุ๊กอีตูจูเยอวายเอย
                        ไฮพัดกระกมติตอนจิรอ      ไฮพัดระพอดิตรอนอิตูด     ตะรงยางเอย
                        ระกบเจ้ากวงมานะ             วอนเบาแบนเราะ               เนออาญาเฮาเอย
                        สะโอนเนาต๊กยะ               วอนเบาแบนเราะ               ดูกรองวไดเดอกะนางไฮเอย
                        คำแปล ขอเชิญสิ่งศักดิ์สิทธ์ขุนเขา ขอเชิญแสงตะวันอันแรงกล้า เชิญเถิดขอให้สิ่งศักดิ์สิทธ์ จงมาให้ขวัญทั้งหลายจงมาร่วมกัน ณ ที่นี้ สิ่งศักดิ์ทั้งหลายเอย ขอให้มาคุ้มครองสองเจ้าเหนือหัว ขอให้พระองค์อยู่ดีมีสุขเถิดพระเจ้า
เราเอย ขอให้อย่ามีทุกข์และความเดือดร้อน ขอให้พระองค์อยู่ดีมีสุขอยู่คู่เมืองไทย ปกป้องคุ้มครองพวกทั้งหลายตลอดไปเทอญ
2.         พิธีซางกระมด      เป็นพิธีกรรมก่อนนำศพลงจากเรือน คำว่า ซาง หมายถึง การกระทำหรือการจัดระเบียบ กระมด แปลว่า ผี ซางกระมด หมายถึง การจัดพิธีเกี่ยวกับคนตายชาวกระโซ่ถือว่า เมื่อคนตายไปแล้วจะเป็นผีดิบ จึงต้องกระทำพีซางกระมดเสียก่อน เพื่อให้ผีดิบและวิญญาณของผู้ตายได้สงบสุข มิฉะนั้นอาจทำให้ญาติพี่น้องเกิดเจ็บป่วยขึ้นได้
           
            อุปกรณ์ในพิธีซางกระมดประกอบด้วย ขันโต(ขันกระหย่อง) สานด้วยไม้ไผ่สองใบ เป็นภาชนะใส่อุปกรณ์ต่างๆ
มีไม้ไผ่สานเป็นรูปจักจั่น 4 ตัว แทนวิญญาณของผู้ตาย นอกจากนี้ยังมีพานสำหรับยกครู (คาย) ประกอบด้วยขันธ์ 5 เทียน
5 คู่ ดอกไม้สีเขียว เช่น ดอกลั่นทม 5คู่ เงินเหรียญ 12 บาท ไข่ดิบ 1 ฟอง ดาบโบราณ 1   เล่ม ขันหมาก 1  ขัน
มีดอกไม้อยู่ในขันหมาก   1   คู่ พร้อมด้วยบุหรี่ และเทียนสำหรับทำพีอีกหนึ่งเล่ม ล่ามหรือหมอผีจะเป็นผู้กระทำพิธีและสอบถามวิญญาณของผู้ตายได้สงบสุข เมื่อทราบความต้องการของวิญญาณแล้วญาติก็จะจัดสิ่งของไว้บวงสรวงวิญญาณ
 
3.พิธีเหยา ในการรักษาคนป่วยหรือเรียกขวัญคล้ายๆ กับพิธีของชาวไทยอีสานทั่วไป เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยหรือการเรียกขวัญ โดยหมอผีจะทำหน้าที่เป็นล่ามสอบถามวิญญาณของบรรพบุรุษ           
            ชาวไทยกะโซ่มีผิวกายที่ดำคล้ำเช่นเดียวกับพวกข่า สมเด็จกลมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงการแต่กายของชาวกะโซ่ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ ต่างๆ ภาค ๔ เมื่อเสด็จภาคอีสานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ไว้ว่า ….ผู้หญิงไว้ผมสูงแต่งตัวนุ่งซิ่นสวมเสื่อแขนกระบอกย้อมครามห่มผ้าแถบ ผู้ชายแต่กายอย่างคนเมือง แต่เดิมนุ่งผ้าเตี่ยวไว้ชายข้างหน้า ชายหนึ่ง