เผ่าไทยกะเลิง


เผ่าไทยกะเลิง

เผ่าไทยกะเลิง
         กะเลิงเป็นชาวกลุ่มน้อยที่เป็นชาติพันธุ์ ทางภาษากลุ่มหนึ่ง   เช่นเดียวกับชนกลุ่ม ญ้อ   โส้ แสก ผู้ไทยและเวียดนาม ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม กะเลิงมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ชนกลุ่มกะเลิงได้อพยพมาตั้งแหล่งอยู่ในประเมทไทยเมื่อประมาร ๑๐๐ ปีเศษ ตั้งแต่มีการปราบเจ้าอนุวงศ์ในราชกาลที่ ๓ และมีการอพยพครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเกิดศึกกบฏฮ่อในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ปัจจุบันมีชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงในประเทศไทย ที่จังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร 
            นครพนมมีกลุ่มอำเภอเมืองกลุ่มกะเลิงที่ บ้านกุรุคุ หนองหญ้าไซ นาปง ไทสามัคคี ตำบลกุรุคุ บ้านนาโพธิ์ บ้านผึ้ง วังกะแส นามน เทพนม ดงสว่าง บ้านผึ้ง บ้านขามเฒ่า ตำบลขามเฒ่า บ้านดงขวาง บ้านคำเตย หัวโพน ตำบลนาทรายบ้านเวินพระบาท บ้านยางนกเหาะ บ้านนาโสกใต้ บ้านนาโสกเหนือ บ้านม่วง อำเภอนาแก บ้านโพนสว่าง บ้านโพนแดง ตำบลนาแก บ้านพระซอง ตำบลพระซอง อำเภอธาตุพนม บ้านนาถ่อน ตำบลนาถ่อน บ้านดอนนาหงส์ อำเภอเรณูนครตำบลเรณูนคร ตำบลนางาม ตำบลนายอ อำเภอปลาปาก บ้านปลาปาก ตำบลปลาปาก บ้านโนนทัน บ้านผักอีตู่ บ้านนองกกคูณบ้านนาสะเดา บ้านโนนทันกลาง ตำบลหนองฮี บ้านนาเชือก ตำบลหนองเพาใหญ่ บ้านวังม่วง ตำบลมหาชัย
            วิธีการดำเนินชีวิตของชาวกะเลิง เหมือนกับชาวอีสานทั่วไป คือ ยึดถือฮึดสิบสอง ครองสิบสี่ เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และมีคติความเชื่อถือในเรื่องผี นับถือผีเหลักหลักบ้าน วิญญาณบรรพบุรุษ ผีตาแหก ผีป่า ผีเขา ประเพณีที่ชาวกะเลิง บ้านกุรุคุ จัดทำเป็นงานบุญยิ่งใหญ่ คือ บุญเผวส (เทศน์มหาชาติ) ซึ่ง3ปี จะจัดให้มีขึ้นครั้งหนึ่ง เพราะสิ้นเปลืองค่าใช่จ่ายมากนอกจากนี้ก็มีประเพณีเลี้ยงผีซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี
            สมัยก่อน นิยมสักเป็นรูปนกที่แก้มดังผญาว่า สักนกน้อยงอย แก้มตอดขี้ตาสักนกน้อยงอยแก้มจั่งงาม ปัจจุบันยังพบชายชาวกะเลิง สักลายที่ขา และตัวบางแต่ก็มีการสักรูปนกที่แก้ม ชายชาวกะเลิงในปัจจุบันแต่งกายเหมือนชายชาวอิสารทั่วไป หญิงชาวกะเลิงในสมัยก่อนแต่งกายโดยนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่มีเชิง ไม่สวมเสื้อ ใช้แพเบี่ยงโต่งในเวลามีงานปกตินิยมเปลือยหน้าอกซึ่งเรียกว่า ปละนม ไว้ผมยาว และผมมวยสวมกำไลข้อมือ ข้อเท้า และตุ้มหูเงิน นิยมทัดดอกไม้ ประเทืองผมด้วยขมิ้น ทาหน้าด้วยหัวกลอยและข้าวสาร บางคนนิยมเอสขี่มาถูฟันให้ดำงาม สวมรองเท้าที่ประดิษฐ์เองมาวัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ หนังสัตว์ กาบหมาก
            ภาษากะเลิงจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท เช่นเดียวกับภาผู้ไทย    ภาษากะเลิงไม่มี ฟ ใช้ พ แทน เช่น ไพพ้า (ไฟฟ้า) ไม่มี ฝ ใช้ ผ แทน เช่น ผาด (ฝาด) ไม่มี ร  ใช้ ล แทน ฮ แทน เช่น ลำ (รำ) ฮกเฮื้อ (รกเรื้อ) ไท่ที ช ใช้ซ แทน เช่น ซม (ชม) มีอักษรควบใช้เป็นบางคำ เช่น ขว้าม (ข้าม) สวาบ (สวบ) กินอย่างมูมมาม เช่น หมูสวาทฮำทวาย (ทวย) 
            ภาพสะท้อนที่แสดงออกถึงค่านิยม คติความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิต และศักยภาพของชาวกะเลิงบ้านกุรุคุ จะเห็นได้จากผญา เพลงพื้นเมือง นิทานพื้นบ้าน