อำเภอปลาปาก


อำเภอปลาปาก

คำขวัญอำเภอ  พระธาตุมหาชัยล้ำค่า ห้าเผ่าไทยหลายหลาก ถิ่นปลาปากเขียวขจี ยึดประเพณีศรีโคตรบูรณ์ 
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ   ทางหลวงแผ่นดินที่ 2276 นพ 48160 
หมายเลขโทรศัพท์   0-4258-9131 
หมายเลขโทรสาร  0-4258-9131 
ข้อมูลทั่วไป 
 
      1.ประวัติความเป็นมา        สถานที่ตั้งรกรากของปลาปาก นับว่าเป็นชนเผ่าที่น่าสนใจมิใช่น้อยเลยที่เดียว ความเป็นมาของบรรพบุรุษของชาวปลาปาก เดิมมีถิ่นที่อยู่ในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เมืองมหาชัย ในยุคสมัยเมืองพระยากู่แก้วเป็นเจ้าเมือง ได้ถูกพวกจีนฮ่อรุกรานเจ้าเมืองมหาชัยจึงได้นิมนต์พระหลวงพ่อสมภารและพระน้องชายชื่อเพียรหาญอพยพพลเมืองจำนวนหนึ่งข้ามมาทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขตแดนของประเทศไทย การเดินทางครั้งนั้นได้มาอาศัยอยู่กับเจ้าพรหมมา ซึ่งเป็นเจ้าเมืองนครพนมขณะนั้น เจ้าพรหมมาเป็นบุตรชายของเจ้าเมืองมหาชัย เมื่ออพยพมาถึงบริเวณที่เรียกว่า ทามแคม ซึ่งเป็นบริเวณห้วยบังขนังปัจจุบัน เมื่อเห็นว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยเผือกมัน กลอยและปลา มีน้ำสำหรับเหมาะสมในการทำมาหากินเลี้ยงเชีพอีกทั้งทำเลกว้างขวางจึงได้พากันสำรวจและตั้งที่พักอาศัย แต่เนื่องจากทามแคมเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน ผู้คนจึงอพยพไปอยู่ที่เนินสูง บริเวณนั้นจึงเป็นบ้านเรือนว่างเปล่าไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ อีกทั้งวัดก็ทรุดโทรมเก่าแก่มากมีสิ่งปรักหักพัง
ไม่มีของมีค่าหลงเหลือ มีแต่พระทองสัมฤทธิ์ และในวัดก็มีป้ายเป็นตัวอักษรเขียนด้วยสีดาอ่านแล้วแปลเป็นภาษาลาวว่า วัดบ้านนางบุ่งทุ่งปลาเว้า มีประวัติความเป็นมาว่าบริเวณนี้ในฤดูฝนมีน้ำหลากมาก จึงทำให้มีปลาชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายปลาตะเพียนทอง มารวมกันอยู่เป็นจำนวนมากส่งเสียงร้องอึงคะนึงคล้ายเสียงคนพูดกัน ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานบริเวณแห่งนี้ว่าปลาเว้า (ปลาพูด)
         ปลาปากเดิมเป็นตำบลหนึ่งขึ้นกับอำเภอเมืองนครพนม ต่อมาเมื่อวันที่  21  เดือนสิงหาคม  พ.ศ. 2507  ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ประกอบด้วย 3 ตำบล  คื่อ ต.ปลาปาก ต.หนองฮี  และ ต.กุตาไก้  มี ร.ท.วินัย บุญรัตนผลิน มารักษาราชการในฐานะปลัดอำเภอปลาปาก ต่อมาเมื่อวันที่ 17  พ.ย. 2514  ได้รับการยกฐานะเป้นอำเภอปลาปาก ประกอบด้วย  8  ตำบล  คือ ต.ปลาปาก ต.หนองฮี  ต.กุตาไก้ ต.นามะเขือ  ต.โคกสว่าง ต.โคกสูง  ต.มหาชัย  และต.หนองเทาใหญ่  (ตำบลหนองเทาใหญ่ยกฐานะเมื่องปี พ.ศ. 2521  )ประชาชนเผ่าต่างๆ ตั้งรกรากอยู่บ้านปลาปาก มี 5 เผ่า คือ เผ่าไทญ้อ เผ่าไทกะเลิง ไทลาว เผ่าภูไท เผ่าไทโส้  
2.เนื้อที่/พื้นที่ 547 ตร.กม. 
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป แบ่งออก เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว  
 
 ข้อมูลการปกครอง 
  1.ตำบล…….8…. แห่ง 3.เทศบาล..1…..แห่ง 
2.หมู่บ้าน….85…. แห่ง 4.อบต……..8 … แห่ง 
 
 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ 
    1.อาชีพหลัก ได้แก่  ทำนา  รับจ้างทั่วไป  เลี้ยงสัตว์  
    2.อาชีพเสริม ได้แก่  เกษตรกรรม  รับจ้างทั่วไป  เลี้ยงสัตว์  
    3.จำนวนธนาคาร   มี 1 แห่ง ได้แก่
        ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  โทร. 0-4258-9039 
   4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี – แห่ง 
ด้านสังคม 
  1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่  ร.ร.ปลาปากวิทยา  โทร. 0-4258-9089
       ร.ร.มัธยมพัชรกิติยาภา 1 นครพนม  โทร.  0-4258-5067
       ร.ร.ธรรมโฆษิตวิทยา  โทร.  0-4251-2584
       ร.ร.กุตาไก้วิทยาคม  โทร.0-4253-7633
       ร.ร.มหาชัยวิทยาคม  โทร.  0-4253-7199  
2.มหาวิทยาลัย ได้แก่  – 
 
 ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ 
      ป่าไม้เต็งรัง   
 
ด้านประชากร  
     1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 51,179  คน 
     2.จำนวนประชากรชาย รวม 25,447  คน 
     3.จำนวนประชากรหญิง รวม 25,732 คน 
     4.ความหนาแน่นของประชากร 94.72 คน/ตร.กม. 
ด้านการคมนาคม 
     1.ทางบก  – รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2276
         – สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  –
         – สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  – 
     2.ทางน้ำ  – ท่าเรือขนส่งโดยสาร  หมายเลขโทรศัพท์  –
         – ท่าแพขนานยนต์        หมายเลขโทรศัพท์  – 
     3.ทางอากาศ  – ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  – 
ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม 
    1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่  ข้าว  
    2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่      (แม่น้ำ/บึง/คลอง) ห้วยบังขนัง  ห้วยบัง อ่างเก็บน้ำห้วยหินชะแนน  
    3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่  –