อำเภอนาหว้า

คำขวัญอำเภอ  “พระธาตุประสิทธิรวมใจ ผ้ามุกไหมงามตา อาชีพปริศนา พัฒนาหัตถกรรมไทย”

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ   เลขที่ 120 หมู่ที่ 5 ถ.นาหว้า – ศรีสงคราม อ.นาหว้า จ.นครพนม 48180
หมายเลขโทรศัพท์   0-4259-7011
หมายเลขโทรสาร  0-4259-7011

ข้อมูลทั่วไป 

1.ประวัติความเป็นมา  อำเภอนาหว้าประกอบด้วยชนเผ่า 5 เผ่า ได้แก่ ผู้ไท แสก ญ้อ กะเลิง และไทยอิสาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป้นเผ่าญ้อที่อพยพมาจากตอนเหนือของเมืองหลวงพระบาง ส.ป.ป. ลาว  เมื่อประมาณปี พ.ศ.2112 และอีกส่วนหนึ่งอพยพมาจากอุบลราชธานีโดยแรกเริ่มได้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณที่ตั้งบ้านนาหว้าในปัจจุบันเพราะเป็นที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำ(ลำน้ำอูน)เหมาะแก่การทำนา  ประกอบกับในบริเวณพื้นที่มีต้นหว้าอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า ” บ้านนาหว้า” สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ในอดีตอำเภอนาหว้ามีฐานะเป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม  ต่อมาได้โอนเอาตำบลนาหว้าไปขึ้นการปกครองกับกิ่งอำเภอศรีสงคราม  จนเมื่อวันที่   1  สิงหาคม 2514  ทางราชการจึงได้ประกาศตั้ง  ” กิ่งอำเภอนาหว้า ”   ขึ้นมีพื้นที่การปกครอง  3    ตำบล  มี ร.ต.อนิวัฒน์  พะโยมเยี่ยม  ร.น.เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรกและได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น” อำเภอนาหว้า” เมื่อวันที่  22  มีนาคม  2522  โดยมีนายพงศ์โพยม  วาศภูมิ เป็นนายอำเภอคนแรกและนายอำเภอคนปัจจุบันคือนาย
สุทธา  ธรรมอำนวยสุข  ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อ  1  พฤศจิกายน  2547 และเป็นนายอำเภอคนที่  21

ที่ตั้ง
อำเภอนาหว้า  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดนครพนม (ระหว่างเส้นรุ้งที่  21-25  และเส้นแวงที่  19-95) ห่างจากจังหวัดนครพนม  98  กิโลเมตร  และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ  690  กิโลเมตร  เนื้อที่ประมาณ  288.448  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  204,375  ไร่

อาณาเขต

ทิศเหนือ      – ติดกับ อ.อากาศอำนวย  จ.สกลนคร
ทิศไต้           – ติดกับ อ.กุสุมาลย์  จ.สกลนคร
ทิศตะวันออก – ติดกับ อ.ศรีสงคราม  และอ.โพนสวรรค์  จ.นครพนม
ทิศตะวสันตก – ติดกับ อ.อากาศอำนวยและอำเภอพรรณานิคม  จ.สกลนคร

2.เนื้อที่/พื้นที่ 288,448 ตร.กม.
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดูร้อน (ก.พ.-พ.ค.)ฤดูฝน(มิ.ย.-ก.ย.)ฤดูหนาว(ต.ค.-ม.ค.)

ข้อมูลการปกครอง
1.ตำบล…….6…. แห่ง 3.เทศบาล..1…..แห่ง
2.หมู่บ้าน….68…. แห่ง 4.อบต……..6 … แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ 

1.อาชีพหลัก ได้แก่  ทำนา,ทำสวน
2.อาชีพเสริม ได้แก่  ทอผ้า,ผลิตภัณฑ์จากกก,ทำพิณ แคน โหวด
3.จำนวนธนาคาร  มี 2 แห่ง ได้แก่
1.ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด
2.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี – แห่ง

ด้านสังคม 

1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่  1.โรงเรียนนาหว้าพิทยาคม         โทร.0-4259-7130
2.โรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์  โทร.0-4259-7461
3.โรงเรียนอุดมพัฒนศึกษา        โทร. 0-4253-8112
4. โรงเรียนดอนเสียวแดงพิทยาคม  โทร.

2.มหาวิทยาลัย ได้แก่  1.  วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ

1.ทรัพยากรดิน
2.ทรัพยากรน้ำ

ด้านประชากร

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 49,560  คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 24,597  คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 24,963 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 166.111 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม

1.ทางบก  – รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2346
– สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  –
– สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  –
2.ทางน้ำ  – ท่าเรือขนส่งโดยสาร  หมายเลขโทรศัพท์  –
– ท่าแพขนานยนต์        หมายเลขโทรศัพท์  –
3.ทางอากาศ  – ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  –

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม 

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่  ข้าว,ข้าวโพด,แตงโม
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่
(แม่น้ำ/บึง/คลอง) ลำน้ำอูน,ลำน้ำยาม