อำเภอวังยาง


อำเภอวังยาง

คำขวัญอำเภอ  รังต่อหนองแคน ดินแดนข้าวหอมมะลิ พระราชดำริเขื่อนนาขาม งามพระพุทธโพธิ์ศรี 
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ   บ้านวังยาง ตำบลวังยาง กิ่งอำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม 48130 
หมายเลขโทรศัพท์   0-4257-7031 
หมายเลขโทรสาร  0-4257-7031
ข้อมูลทั่วไป 
 
1.ประวัติความเป็นมา       อำเภอวังยาง   เดิมเป็นกิ่งอำเภอวังยาง โดยแยกเขตการปกครองออกจากอำเภอนาแก  เมื่อวันที่  1  กรกฎาคม  2540   ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอ   โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  124  ตอนที่  46  ก  ลงวันที่  24  สิงหาคม  2550  กิ่งอำเภอวังยางได้ยกฐานะเป็นอำเภอตั้งแต่วันที่  8  กันยายน  2550   พื้นที่ทั้งหมดประมาณ  121  ตารางกิโลเมตร  แบ่งการปกครองออกเป็น  4  ตำบล  27  หมู่บ้าน
สภาพภูมิประเทศ
ที่ตั้งกิ่งอำเภอวังยาง  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอนาแก  จังหวัดนครพนม  ห่างจากจังหวัดนครพนม 
 71  กิโลเมตร  พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงและมีบางส่วนมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม  พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล    โดยเฉลี่ย  140  เมตร  พื้นที่มีลักษณะลาดเอียงจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็นพื้นที่นาสลับป่าโปร่ง  ดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรัง  ความอุดมสมบูรณ์ในดินต่ำ  มีการซึมซับและระบายน้ำได้ดีมาก  หน้าแล้งมีความแห้งแล้งมาก  น้ำตามลำน้ำ ลำคลองจะแห้งขอด  ส่วนลำน้ำก่ำสามารถกักเก็บน้ำได้ตลอดปี  เนื่องจากมีประตูระบายน้ำตามโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ ฯ
  
2.เนื้อที่/พื้นที่ 121.87 ตร.กม. 
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป ฤดูหนาว อากาศหนาว ฤดูร้อน อากาศร้อนมาก  
 
ข้อมูลการปกครอง 
1.ตำบล…….4…. แห่ง 3.เทศบาล..-…..แห่ง 
2.หมู่บ้าน….27…. แห่ง 4.อบต……..3 … แห่ง 
 
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ 
1.อาชีพหลัก ได้แก่  ทำนา  
2.อาชีพเสริม ได้แก่  ทำสวน  ทำไร่  เลี้ยงสัตว์  ทอผ้ามุก  ผ้าพื้นเมือง  
3.จำนวนธนาคาร   มี -0 แห่ง ได้แก่
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี -0 แห่ง 
 
ด้านสังคม 
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่  1.โรงเรียนวังยางวิทยาคม 
2.โรงเรียนหนองโพธิ์พิทยาคม  
2.มหาวิทยาลัย ได้แก่  – 
 
ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ 
  –   
 
ด้านประชากร  
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 14958  คน 
2.จำนวนประชากรชาย รวม 7557  คน 
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 7281 คน 
4.ความหนาแน่นของประชากร 120 คน/ตร.กม. 
 
ด้านการคมนาคม 
1.ทางบก  – รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  –
– สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  –
– สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  – 
2.ทางน้ำ  – ท่าเรือขนส่งโดยสาร  หมายเลขโทรศัพท์  –
– ท่าแพขนานยนต์        หมายเลขโทรศัพท์  – 
3.ทางอากาศ  – ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  – 
 
ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม 
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่  ข้าวหอมมะลิ  มะเขือเทศ  
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่  (แม่น้ำ/บึง/คลอง) ลำน้ำก่ำ