แหล่งอุตสาหกรรมในจังหวัดนครพนม Posted in ข้อมูลทั่วไป แหล่งอุตสาหกรรมในจังหวัดนครพนม แหล่งอุตสาหกรรมในจังหวัดนครพนม แหล่งอุตสาหกรรม ได้แก่ แหล่งผลิตวัตถุอาจเป็นวัตถุดิบหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันเพื่อส่งเป็นสินค้าแหล่งอุตสาหกรรม สมัยโบราณในจังหวัดนครพนม มีทั้งแหล่งผลิตภาชนะดินเผาแหล่งกลือ แหล่งเตาเผาโบราณลุ่มแม่น้ำสงคราม พบกระจายอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำสงครามและบริเวณระหว่างห้วยน้ำยาม และน้ำอูนซึ่งเป็นสาขาสำคัญของแม่น้ำสงคราม ในเขตบ้านท่าพันโฮง บ้านนาทม ล้านหาดแพง บ้านศรีเวินชัย บ้านดงเจ้าจันทร์ บ้านข่า วัดศรีสงคราม การสร้างเตาบริเวณลุ่มน้ำด้วยวิธีนี้นั้น เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการลำเลียงสินค้าทางน้ำ ดังนั้นจึงพบเตาลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก บ้านท่าพันโฮง ที่ตั้ง บ้านท่าพันโฮง ตำบลนาทม อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม หลักฐาน พบแหลั่งเตาผลิตเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มเตาบุ่งอีซา 2. กลุ่มเตา หนองอ้อ (ใกล้กับหนองน้ำ ชื่อหนองอ้อ ) ในบริเวณริมตลิ่งของลำน้ำสงครามซึ่งแนวลำน้ำช่วงที่ผ่านบ้านท่าพันโฮงนี้วางตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ กลุ่มเตาบุ่งอีซาจะตั้วอยู่ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านกรืออยู่ทางด้านทิศเหนือของเตาหนืองอ้อ ส่วนกลุ่มเตาหนองอ้อจัอยู่ห่างลงมาทางตอนใต้อีกประมาณ 1 กิโลเมตร เตาทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีลักษณะเด่นตรงที่เป็นเตาขุดเข้าไปในตลิ่ง แล้วใช้ดินจากริมฝั่งแม่น้ำมาทำเตา ตัวเตาจะอยู่ตลิ่งโดยเฉลี่ยประมาณ 4-7 เมตร ลักษณะเป็นเตาทรงประทุน รูปกลมรี ปล่องเตาน่าจะอยู่ด้านบน พื้นเตาเอียงลาดตามความลาดเทของชายตลิ่ง ปากเตาหันลงสู่แม่น้ำ สันนิษฐานว่ามีช่องใส่ไฟ และคันกันไฟลดระดับตากส่วนที่วางภาชนะ เตาที่พบโดยมากสภาพหลังคายุบตัวลงก่อนแล้วเนื่องจากโครงสร้างของเตาทำด้วยดินยึดเกาะตัวกันจึงไม่คงทน และมีการสร้างเตาใหม่ขึ้นซ้อนทับเตาเก่าที่พังทลายหรือใช้งานได้ไม่ดี กลุ่มเตาบุ่งอีซา พบซากเตาเพียง 6 เตาเรียงขนานกันในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตกจากเตาที่ยังสภาพค่อนข้างดีจะพบว่าหลังคาเตาด้านบนเป็นทรงโค้งแบบประทุนเรือ มีแนวคันกันไฟ ส่วนบริเวณที่คาดว่าเป็นช่องใส่ฟืน จะมีก้อนศิลาแลงวางตั้งอยู่ ขนาดของเตาโดยเฉลี่ยจะมีความกว้างประมาณ 1.50-3 เมตร ยาว 5-6 เมตร ผนังเตาหนาประมาณ 10-15 เซนติเมตร เตาที่พบส่วนใหญ่จะมีสภาพชำรุดมาก หลังคายุบตัวลงมาเกือบทั้งหมาดบริเวณเตาจะพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งกระจายอยู่จำนวนมาก ภาชนะที่ผลิตจากแหล่งเตาแห่งนี้ ได้แก่ ภาชนะดินเผาสีเทาไม่เคลือบ ส่วนใหญ่เป็นไหปากแตรมีการตกแต่งด้วยการขุดเป็นเส้นขนานและทำเป็นลายเส้นนูนรอบภาชนะบริเวณไหล่ ภาชนะดินเผาเคลือบสีน้ำตาล ส่วนใหญ่เป็นไหปากแตร ลักษณะนั้นเคลือบจะหยดย้อยเป็นสาย และเศษภาชนะดินเผาบางชิ้นก็มีร่องรอยชองน้ำเคลือบที่หลุดร่อนออกไป และภาชนะดินเผาเนื้อดิน ภาชนะจากกลุ่มเตานี้ เนื้อดินค่อนข้างจะแกร่ง (Earthenware) ตกแต่งด้วยลายลูกคลื่น หรือเส้นขนานรอบไหบ่ รูปทรงส่วนใหญ่เป็นภาชนะประเภทไหที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ยังพบเศษภาชนะดินเผาหลายชิ้นด้วยกันที่มีการตกแต่งด้วยการใช้น้ำเคลือบสีเขียวต่ำมาพบลวดลายบนภาชนะดินเผาประเภทนี้ กลุ่มเตาหนองอ้อ เตามีลักษณะเดียวกับกลุ่มเตาบุ่งอีซา ตาจะสร้างต่ำจากผิวดินด้านบนของตลิ่งลงมาประมาณ 1-4 เมตร วางตัวขนานกันในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก ขนาดเตากว้างประมาณ 8-11 เซนติเมตร มีครามน้ำเคลือบสีขาวอมเทาติดอยู่พบกี๋ลักษณะเป็นก้อนดินเผารูปลิ่ม จำนวนหลายชิ้นภาชนะที่ผลิตจากกลุ่มเตานี้ ภาชนะดินเผาเนื้อดินสีแดง อาจจะเป็นทรงไหประเภทที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักมักจะตาแต่งด้วยลายเส้นนูน และลายขูดขีดเป็นลูกคลื่นซี่หวี ภาชนะเนื้อแกร่งใหญ่เป็นภาชนะประเภทไหปากแตร ภาชนะเคลือบสีน้ำตาล มีส่วนผามของแร่เหล็ก ปะปนอยู่ค่อนข้างมาก น้ำเคลือบสีน้ำตาลทอง น้ำตาลเข้มรูปทรงไห กลุ่มเตาบ้านานทม ที่ตั้ง บ้านนาทม อำเอนาทม จังหวีดนครพนม หลักฐาน พบทั้งริมฝั่งแม่น้ำสงครามและบริเวณที่อยู่เนอจากฝั่งแม่น้ำขึ้นไปประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่มีร่องรอยล่องเตาค่อนข้างสมบูรณ์ 2 เตา กลุ่มเตาบ้านหาดแพง ที่ตั้ง บ้านหาดแพง ตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลักฐาน กลุ่มเตาบ้านหาดแพงอยู่ห่างจากกลุ่มเตาที่กล่าวมาทั้งหมดค่อนข้างมาก กลุ่มเตาที่พบอยู่ริมแม่น้ำสงครามในบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านที่เรียกว่าขุมข้าวพบเพียง 2 เตา แหล่งเตาทั้งหมาดผลิตภาชนะทั้งประเภทเนื้อดินและเนื้อแกร่งซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กันในด้านรูปทรงภาชนะสีน้ำเคลือบละแม้กระทั่งลักษณะของเนื้อดิน รูปแบบภาชนะที่พบมากก็คือภาชนะทรงไหที่มีขอบปากผายออกมากๆ หรือที่เรียกว่า ไหปากแตร ปละไหน้ำหล่อ ส่วนรูปทรงอื่น ๆ ที่พบนอกจากนี้ เช่น ถ้วย ชาม และครก เป็นต้น ภาชนะเหล่านี้น่าจะเป็นสินค้าที่นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน แต่ก็ปรากฏว่ายังมีภาชนะอีกกลุ่มหนึ่งที่มีลักษณะเป็นไหเคลือบสีน้ำตาลจะใช้สำหรับบรรจุกกระดูกคนตายที่เผาแล้วด้วยโดยจะนำไปฝังไว้ตามบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งชุมชนในที่ต่าง ๆ หรือตามเนินดินต่าง ๆ ในย่านใกล้เคียงกับวัด วัดศรีสงคราม ที่ตั้ง วัดศรีสงคราม ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังกวัดนครพนม หลักฐาน เป็นเนินดินขนาดใหญ่ติดกับแม่น้ำสงคราม พบเศษภาชนะดินเผาลักษณะเหมือนกับที่พบบริเวณแหล่งเตา คือ มีทั้งแบบเนื้อดินและเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตาลภาบ่นะสีเทาเนื้อแกร่งและชนิดที่เคลือบนั้นมีเนื้อดินค่อนข้างหยาบ เนื้อดินปั้นสีเทา หรือคล้ำน่าจะเป็นภาบ่นะประเภทชาม ไหปากแตร ถ้วย และไห ซึ่งไหบางชิ้นมีกรประดับด้วยหูหลอกเล็ก ๆ ส่วนลวดลายการตกแต่งที่พบได้แก่ การใช้ซี่หวีขูดขีดเป็นรูปลายคลื่น ปละเส้นขนานรอบส่วนไหบ่ บ้านศรีเวินชัย ที่ตั้ง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลักฐาน บ้านศรีเวินชัย เป็นอีกบริเวณหนึ่งที่อยู่ติดแม่น้ำสงคราม เศษภาชนะดินเผาที่พบส่วนใหญ่มีเนื้อแกร่ง สีเทา ไม่เคลือบเนื้อละเอียด แต่ที่ด้านในของเศษภาชนะดินเผาบางชิ้นก็มีสีน้ำตาลแดง ๆ รูปทรงที่พบเช่น ถ้วยขนาดใหญ่และไหปากแตร ลวดลายที่พบมักเป็นลายขูดขีดซี่หวีเป็นลูกคลื่นหรือเส้นขนาน สำนักสงฆ์ดงเจ้าจันทร์ ที่ตั้ง ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลักฐาน สำนักสงฆ์แห่งนี้ตั้งอยู่บนตลิ่ง ไม่ห่างจากฝั่งแม่น้ำสงครามมากนักได้ขุดพบภาชนะที่สมบูรณ์เป็นผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาในลุ่มแม่น้ำสงคราม รูปทรงส่วนใหญ่เป็นไหปากแตร ชนิดที่เคลือบและไม่เคลือบ ที่สำคัญคือภาชนะเนื้อแกร่ง ลวดลายพิเศษแตกต่างสัญลักษณ์บางอย่าง นอกจากนี้ยังพบภาบ่นะอีกกลุ่มหนึ่งที่มีตกแต่งด้วยลวดลายพิเศษแตกต่างไปจากภาชนะดินเผาที่พบจากแหล่งเตาป่งอื่น ๆ ภาชนะกลุ่มนี้เป็นภาชนะเนื้อดินที่มีความแกร่งจนเกือบขั้น ลวดลายที่ตกแต่งบนภาชนะเหล่านี้ได้แก่ ลายกดประทับที่พบที่แหล่งเตาบ้านบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรีด้วย อายุ แหล่งเตาในลุ่มแม่น้ำสงครามมีรูปลิตภัณธที่แสดงถึงความเกี่ยวพันกับชุมชนโบราณแห่งอื่นก็ทั้งภาคเหนือของประเทศไทย ในลักษณะของเตาขุดเข้าไปในตลิ่งซึ่งเป็นเทคนิคของเตาเผารุ่นแรกๆ ทางล้านนาและศรีสัชนาลัย และอุปกรณ์การผลิตเช่น กี๋ก็น่าจะมีความสัมพันธ์กับกกลุ่มเตาที่เวียงจันทน์ การติดต่อและอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ไปมาหาสู่กันได้ก่อให้เกิดการสังสรรค์ทางวัฒนธรรมขึ้น การถ่ายทอดเทคนิควิธีการทำภาชนะดินเผา ในลุ่มน้ำสงครามส่วนหนึ่งก็คงได้รับมาจากาการติดต่อกับสังคมภายนอกเหล่านี้ด้วย จากหลักฐานทั้งหมดข้างต้นจึงน่าจะกิหมดอายุของแหล่งเตาลุ่มน้ำสงครามได้ว่า น่าจะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรรษที่20 ลงมาและอาจจะถึงพุทธศตวรรษที่ 23 แหล่งเกลือโบราณลุ่มแม่น้ำสงคราม นครพนมเป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ดินเค็ม ชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำสงครามบางส่วนได้ยึดอาชีพการทำเกลือมาแต่ดั้งเดิมแล้ว การทำเกลือในสมัยโบราณที่ระดับเทคโนโลยียังไม่สูงนักจะไม่สามารถนำน้ำเค็มที่ยู่ลึกมากมาทำได้ ลักษณะของความเค็มนั้นแม้ในพื้นที่เดียวกันไม่สม่ำเสมอกัน บริเวณแหล่งโบราณคดีเหล่านี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีดินเค็มมากประกอบกับชั้นน้ำใต้ดินเค็มอยู่ตื้นใกล้ผิวดิน แหล่งเกลือโบราณเหล่านี้จึงน่าจะใช้วิธีทำเกลือจากน้ำเกลือโดยตรงทำให้ไม่มีแนวดินที่มีการเผ่าไหม้มากนัก แหล่งเกลือโบราณดังกล่าว ได้แก่ สำนักสงฆ์โพนช้างขาวสันติธรรม ที่ตั้ง บ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรื่อ ทำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สภาพภูมิศาสตร์ เนินดินใหญ่ สูง 8-9 เมตร อยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา หลักฐาน บนเนินดินพบโครงกระดูกมนุษย์ 2 โครงร่วมกับภาชนะดินเผา 1 ใบชิ้นส่วนหินดุ กระดูกสัตว์ เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ลายกดประทับ โพนส้มโฮง ที่ตั้ง บ้านท่าเรื่อ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สภาพภูมิศาสตร์ เนินดินร้าง สูงประมาณ 5-6 เมตร ห่างจากวัดโพนสวรรค์มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 300 หลักฐาน บนเนินมีเศษภาชนะดินเผาทับถมกันอย่างหนาแน่น ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ โพนแต้ ที่ตั้ง บ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สภาพภูมิศาสตร์ เนินดินร้าง สูงประมาณ 4-5 เมตร อยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา หลักฐาน บริเวณนี้พบเศษภาชนะดินเผาน้อยมาก ส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยเชือกทางพบชิ้นส่วนหินดุ 1 ชิ้น โพนกอก ที่ตั้ง บ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะเป็นเนินดินขนาดเล็กสูงประมาณ 2-3 เมตร อยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา หลักฐาน พบเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบพบชิ้นส่วนหินตุ 1 ชิ้น โพนตุ่น ที่ตั้ง บ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะเป็นเนินดินร้าง สูงประมาณ 6-7 เมตร อยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา หลักฐาน พบเศษภาชนะดินเผาเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ โพนจุลณี ที่ตั้ง บ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะเป็นเนินดินร้างสูงประมาณ 5-6 เมตร อยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา หลักฐาน พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งแบบเตาลุ่มน้ำสงคราม 1 ชิ้น วัดโพธิ์เครือ ที่ตั้ง บ้านเสียว ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สภาพภูมิศาสตร์ เป็นเนินดินขนาดใหญ่ อยู่กลางพื้นที่ราบทุ่งนา หลักฐาน พบเศษภาชนะดินเผาทับถมกันอย่างหนาแน่นบริเวณใกล้ประตูวัดตกแต่งด้วยลายเชือกทาบและแบบเรียบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งแบบเตาลุ่มน้ำสงคราม 1 ชิ้น ชิ้นส่วนหินตุ กระดูกสัตว์ สรุป การทำเกลือที่นี่น่าจะทำตามฤดูกาลโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ส่วนในฤดูฝนน้ำจากแม่น้ำสงครามจะบ่าเข้ามาเกิดน้ำท่วมทุกปี บริเวณนี้จึงไม่เหมาะต่อการทำกิจกรรมตลอดปีจึงมาตั้งหลักแหล่งชั่วคราวในบริเวณนี้ สำนักสงฆ์โพนช้างขาวสันติธรรม ได้พบโครงกระดูกมนุษย์เป็นหลักฐานของการเข้ามาพักอาศัยในช่วงระยะหนึ่ง เศษภาชนะดินเผาที่พบทั่วไปอาจกล่าวได้ว่ามีรูปแบบเป็นชามก้นกลมใช้บรรจุเกลือ ส่วนภาชนะต้มเกลือ ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเช่นใด แหล่งผลิตน่าจะอยู่บริเวณแหล่งเกลือนี้เอง เศษกระดูกสัตว์ที่พบคงเป็นสัตว์ที่นำมาเป็นอาหาร แนะแนวเรื่อง สรุปผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดนครพนม →← ภาวะการค้าชายแดนของประเทศไทยกับ สปป.ลาว ด้านจังหวัดนครพนม www.nakhonpanom.com Design by ThemesDNA.com Scroll to Top