ลักษณะและที่ตั้ง
สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม ตั้งอยู่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากองค์พระธาตุพนมประมาณ ๒๐๐ เมตร และห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาวประมาณ ๒๕ๆ เมตร มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม สูงจากระดับพื้น ประมาณ ๑๔ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสูง ๖ๆ เซนติเมตร ข้างในใช้เก็บรักษาเศษอิฐเศษปูนพระธาตุพนมองค์เดิม ซึ่งหักพังทลายลงในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ นอกจากนี้ ยังำด้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ พระพุทธรูป อัญมณี และวัตถุมงคลอื่น ๆ เป็นจำนวนมากอีกด้วย กรุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมทั้งสิ่งของอันมีค่า ได้จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ ส่วนกว้าง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๒ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร
การดำเนินการก่อสร้าง
ก่อนอื่น ต้องย้อนไปดูเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นกับองค์พระธาตุพนมเมื่อ ๒๕ ปีล่วงแล้ว เราจึงจะรู้ที่ไปที่มาของเศษอิฐเศษปูนที่เก็บรักษาอยู่ในสถูปโดยแจ่มแจ้ง กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น. พระธาตุพนมซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นจุดศูนย์รวมแห่งการเคารพบูชาของชาวพุทธในลุ่มแม่น้ำโขงมาช้านาน ประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าปี ได้หักพังทลายลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากพระธาตุช่วงล่างหรือช่วงที่หนึ่งเก่าแก่และชำรุดมาก ไม่สามารถทานน้ำหนักช่วงบนไว้ได้จึงเป็นเหตุให้หักพังลงมาดังกล่าวแล้ว ทางรัฐบาลได้ดำเนินการก่อสร้างใหม่ในปีต่อมา โดยสร้างด้วยคอนกรีตครอบฐานองค์เดิมซึ่งยังเหลืออยู่ประมาณ ๖ เมตร