การคมนาคม – นครพนม

 


4.  การคมนาคม
4.1  การขายขนส่งทางบก  ทางน้ำและทางอากาศ

ทางบก   การคมนาคมขนส่งทางบกจากจังหวัดใกล้เคียง  มีทางหลวงแผ่นดิน  3  สาย   และติดต่อกับสายอำเภอต่าง ๆ  ภายในจังหวัดด้วยทางหลวงจังหวัด   8  สาย   ส่วนในระดับตำบล  และหมู่บ้านมีถนนสายรอง  ลาดยาง   และถนนดินลูกรังอีกหลายสาย
การเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดนครพนม  โดยทางรถยนต์  จะใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข   1   ถนนพหลโยธิน-สระบุรี   กม.  ที่  107  แยกเข้าทางหลวงหมายเลข   2  ถนนมิตรภาพ   ผ่านจังหวัดนครราชสีมา  อำเภอขอนแก่น  แยกเข้าทางหลวงหมายเลข   22  ผ่านอำเภอกุสุมาลย์  จังหวัดนครพนม   ระยะทาง   735  กิโลเมตร    ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดที่สำคัญ    มีดังนี้

ทางหลวงแผ่นดิน   หมายเลข  22  อำเภอกุสุมาลย์  จังหวัดสกลนคร – จังหวัดนครพนม ระยะทาง 53 กิโลเมตร
ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข   223  อำเภอเมืองนาแก – อำเภอเมือง   จังหวัดนครพนม ระยะทาง 46 กิโลเมตร
ทางหลวงจังหวัด  หมายเลข  212  อำเภอเซกา  จังหวัดหนองคาย – อำเภอธาตุพนม ระยะทาง 159 กิโลเมตร
ทางหลวงจังหวัด  หมายเลข  2028  อำเภอกุสุมาลย์  จังวัดสกลนคร – อำเภอท่าอุเทน ระยะทาง 40 กิโลเมตร
ทางหลวงจังหวัด  หมายเลข   2031  อำเภอธาตุพนม-อำเภอนาแก  ระยะทาง  23  กิโลเมตร
ทางหลวงจังหวัด  หมายเลข  2032  อำเภอท่าอุเทน-อำเภอศรีสงคราม  ระยะทาง   31   กิโลเมตร
ทางหลวงจังหวัด  หมายเลข  2105  อำเภอนาแก-อำเภอเมืองนครพนม  ระยะทาง   56  กิโลเมตร
ทางหลวงจังหวัด  หมายเลข  2105  อำเภอนาแก-อำเภอปลาปาก  ระยะทาง  12  กิโลเมตร
ทางหลวงจังหวัด   หมายเลข   2276  อำเภอเมือง – อำเภอปลาปาก   ระยะทาง 16 กิโลเมตร
ทางหลวงจัง   หมายเลข  2132  อำเภอกุสุมาลย์  จังหวัดสกลนคร-อำเภอศรีสงคราม  ระยะทาง  43  กิโลเมตร
ทางหลวงจังหวัด   หมายเลข  2177   อำเภอศรีสงคราม-อำเภออากาศอำนวย   จังหวัดสกลนคร  ระยะทาง  20  กิโลเมตร

ทางน้ำ  จังหวัดนครพนม  มีการคมนาคมขนส่งทางน้ำระหว่างอำเภอเมืองนครพนมกับท่าแขก  แขวงคำม้วน   ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  โดยมีเรือข้ามฝากที่ใช้สำหรับผู้โดยสารและแบบแพขนานยนต์สำหรับขนส่งรถบรรทุกสินค้า  เรือข้ามฟากเปิดบริการทุกวัน

ทางอากาศ    จังหวัดนครพนม  มีการคมนาคมขนส่งทางอากาศ  โดยการบินไทย  กรุงเทพมหานคร-จังหวัดนครพนม   ทุกวัน/ละ   1  เที่ยว  (พ.ศ.  2539)  ใช้เวลาบินประมาณ  45  นาที