โครงการทอผ้าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ Posted in ข้อมูลทั่วไป โครงการทอผ้าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โครงการทอผ้าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ ในพุทธศักราช 2541-2542 ณ วัดธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ระหว่างปี พ.ศ. 2531-2515 สำนักเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้มาเยี่ยมขมฝีมือการทอผ้าไหมแบบพื้นบ้าน ของชาวนาหว้าและได้ชักชวนสตรีแม่บ้านรวมกลุ่มกันทอผ้าไหมส่งห้ำพระตำหนักสวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จมาทอดพระกฐินต้น ที่วัดธาตุประสิทธิ์ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม และได้เสด็จเยี่ยมราษฎรที่เฝ้ารอรับเสด็จในบริเวณวัด มีราษฎรชาวนาหว้าจำนวนหนึ่ง ถวายผ้าไหมลายพื้นบ้านแก่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระองค์ทอดพระเนตรแล้วทรงพอพระราชหฤทัยและทรงดำริริเริ่มให้ราษฎรชาวนาหว้าทอผ้าไหม ส่งให้สำนักพระราชวังสวนจิตรลดา โดยให้กลุ่มส่งผลิตภัณฑ์ผ่านอำเภอ/จังหวัด แล้วจังหวัดรวบรวมส่งต่อให้สำนักราชเลชานุการฯ ผนวกเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของโครงการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ โดยมอบหมายให้ คุณหญิง .มะลิ มูลศาสตร์สาทร ควบคุม ดูแลกิจการของโครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2515 เป็นต้นมาเรียกโครงการนี้ว่า สมชิกทอผ้าไปมกลุ่มนาหว้า สมาชิกเริ่มแรกส่วนใหญ่อู่ที่ตำบลนาหว้าและนาคูณใหญ่ ต่อมามีการขยายรับสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกปีจนในปี พ.ศ. 2522 สำนักเลขานุการในพระองค์ฯ ได้ผนวกเข้าในมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษในโครงการสมเด็จฯ รับสมาชิกเพิ่มจาตำบลท่าเรือ ตำบลนางัง (บ้านาคอย) และบ้านโคกสะอาด (ตำบลบ้านเสียว) รวมสมาชิกว่า 350 คน ทอผ้าไหม ส่งสำนักงานพระราชวังฯ ต่อเนื่องทุกปีกล่าวกันว่า เป็นกลุ่มทอผ้าไหมกลุ่มแรกในประเทศไทยทรน่ทอผ้าไหมส่งสำนักพระราชวังฯ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพะเต้าอยู่หัว แบะสมเด็จพระนางเจ้าฯ ระบรมราชินีนาถ เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรมและทรงงานที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์จังหวัดสกลนครในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปีไดมี การประกวดผ้าไหม และกิจกรรมอาชีพเสริมประเภทต่างๆ ในโครงการศิลปาชีพ เพื่อรับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ สมชิกกลุ่มทอผ้าไหม อำเภอนาหว้า ได้ส่งผ้าไหมเช้าประกวดทุกปี ในปีต่อ ๆ มามีการพัฒนารูปแบบทักษะ และฝีมือการทอผ้าไหมมากยิ่งขึ้น สามารถชนะการประกวดได้รางวัลพระราชทานปีละหลายประเภท รวมทั้งสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดรายได้สร้างฐานะครอบคัวดีขึ้น มีผู้สนใจเข้าไปเยี่ยมชมและขอซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมถึงในหมู่บ้านและเป็นแหล่งท่องเที่ยวศึกษาดูงาน ของบุคคลต่างถิ่นที่ไปเยี่ยมอำเภอนาหว้า จากเหตุผลความเป็นมาดังกล่าวข้างต้นราษฎรสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหม ชาวนาหว้าเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมขององค์พระประมุขแห่งชาติดังกล่าวมาประกอบกับพระปาทสมเด็จพะเจ้าอยู่หัว จะทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 6 รอบ ในปี พ.ศ. 2542 สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหม พร้อมด้วยประชาชนชาวอำเภอนาหว้าส่วนหนึ่งต่างรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงมีความเห็นร่วมกันจะทอผ้าไหมหนึ่งผืน โดยการทอด้วยไหมเส้นยืน เส้นเดียวตบอดผืนยาว 73 เมตร ด้วยลวดลายโบราณของชาวนาหว้า เพื่อเป็นเคื่องสักการะร่วมเฉลิมฉลองในปีมหามงคลสมัยดังกล่าว และน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในช่วงการแปรพราชฐานประทับแรม และทรงงานที่ตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร 2.4.1 วัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายผ้าไหมเป็นราชสักการะ เฉลิมพระเกียติพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 6 รอบ เพื่อแสดงความจงรักภักดี รู้จักสามัคคี แบะความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สาชิกกลุ่มทอผ้าไหม อละชาวอำเภอนาหว้าที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อผนวกงานทอผ้าไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สนับสนุนในการท่องเที่ยวไทยชของจังหวัดนครพนม 2.4.2 ผ้าไหมที่ทอมีทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่ ประผ้าไหมพื้นเรียบแระเภทผ้าไหมหางกระรอก ประเภทผ้าไหมมัดหมี่ ประเภทผ้าไหมมัดหมี่ลายประยุกต์ ประเภทผ้าไหมหมี่ทอลายขิด ลักษณะการทอผ้า ใช้เส้นผ้าไหมยืนเส้นเดียวตลอดผืน ทอต่อเนื่องตามแบบแปลนการทอที่กิหนดไว้เริ่มต้นจาก ลายยกดอก หางกระรอก พื้นเรียบมัดหมี่ ลายประยุกต์ และหมัดหมี่ข้อตามลำดับมัดท้ายด้วยการยกดอกตัวอักษรไทย ทรงพระเจริญยืนนาน ผ้าไหม 1 ผืนขนาดกว้าง 1.20 เมตร ยาว 73 เมตร เริ่มทอผ้าฯ ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2541 และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และนำขึ้นน้อมเกล้าถวายในเดือนพฤศจิกายน 2541 แนะแนวเรื่อง โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา – แม่ฟ้าหลวง จังหวัดนครพนม →← โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำตอนล่าง www.nakhonpanom.com Design by ThemesDNA.com Scroll to Top