โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกะเบา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ Posted in ข้อมูลทั่วไป โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกะเบา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกะเบา ฮันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1. เรื่องเดิม ภายหลังจากการที่รัฐบาลได้ปรับแนวทางการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามใหม่ โดยได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66 /2523 และ 65/2525 และถือเป็นนโยบายในการปฎิบัติเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ จึงทำให้คอมมิวนิสต์ประสบความพ่ายแพ้ต่อทางรัฐบาลทั้งทางการเมืองและทางทหารอย่งสิ้นเชิง ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่พ่ายแพ้ยอมจำนน โดยออกมามอบตัวในเขตพื้นที่บ้านบาก อำเภอดอนตาล เป็นครั้งแรกในจำนวนนี้มีบางส่วนได้มีเงื่อนไข เป็นข้อต่อรองกับทางรัฐบาลในการช่วยเหลือต่างๆ และเฝ้าคอยช่วยเหลือติดต่อความเคลื่อนไหวของฝ่ายเจ้าหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวว่า รัฐบาลจะมีความจริงใจแค่ไหนเพียงไร ต่อมาทางกองทัพบก ได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 2 ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับกลุ่มผู้ร่วมกู้ชาติไทย ที่ได้แสดงความประสงค์ จะขอเข้าทำกินในพื้นที่ที่นิคมบ้านดงหมู และกองทัพภาคที่ 2 ได้ขอใช้พื้นที่จากองค์การทหารผ่านศึกจำนวน 5,000 ไร่ จัดให้กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยได้ทำกินจำนวน 72 ครอบครัว และมอบหมายให้จังหวัดนครพนมเป็นผู้ดำเนินการ ต่อไป โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกะเบา เป็นโครงการตามบัญชีพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก (หน. 3) ปี 2528 ลำดับ 7 ของงานก่อสร้างชลประทานขนาดเล็ก เพื่อจัดหาน้ำอุปโภค-บริโภค และช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรให้แก่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยที่บ้านดงหมู และเป็นโครงการหนึ่งที่ทางจังหวัดนครพนมได้จัดเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง โดย กอ.รมน. ได้มีหนังสือ นร. 5100 /1040 ลว. 8 กค. 27 ขอให้กรมชลประทานพิจารณาสนับสนุนโครงการนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเป็นอย่างยิ่ง แต่การตรวจสภาพภูมิประเทศในบริเวณที่จะสร้างอ่างฯ ปรากฎว่าฐานรากเป็นหินผุ ตลอดแนวจะต้องมีการฉีดหินปูนอุดรอยแตกของดิน ทำให้ราคาก่อสร้างสูงกว่า 4 ล้านบาท อยู่นอกเกณฑ์งานชลประทานขนาดเล็ก โครงการชลประทานนครพนมจึงได้มีหนังสือที่ กษ.0330/160/2528 ลว. 14 กพ. 2528 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ขอยกเลิกโครงการดังกล่าวด้วยเหตุผลข้างต้นต่อมาผู้วาราชการจังหวัดนครพนมได้มีหนังสือที่ นพ. 0016/5167 ลว. 14 มี.ค. 2528 ถึงอธิบดีกรมชลประทาน ขอให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยกะเบาเป็นกรณีพิเศษด้วย เพราะจะทำให้ราษฎรและผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในพื้นที่ดังกล่าวมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งด้านปฎิบัติการจิตวิทยาและการรักษาความมั่นคง ต่อมาเมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2528 กอ.รมน. ได้มีหนังสือที่ นร. 5100/586 ถึงอธิบดีกรมชลประทานขอให้สนับสนุนโครงการนี้เป็นพิเศษด้วยเหตุผลเช่นเดียวกันสชป.5 ได้พิจารณาแล้วเห็นควรจัดโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกะเบาไว้ในแผนงานก่อสร้างโครงการขนาดกลาง และได้จัดทำรายงานการศึกษาโครงการนี้เสนอกองวางโครงการเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2528 เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนของโครงการชลประทานขนาดกลาง ต่อไปกองวางโครงการจึงได้จัดทำรายงานเบื้องต้นขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตการสำรวจภูมิประเทศ และนำผลมาศึกษาพิจารณาวางโครงการในขั้นรายละเอียดต่อไป 2. วัตถุประสงค์การก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกะเบา อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์สำคัญดังต่อไปนี้1. เพื่อจัดหาน้ำอุปโภค-บริโภค และช่วยเหลือพื้นการที่เกษตรให้แก่ราษฎรและผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ในเขตบ้านดงหมู ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม และในเขตใกล้เคียง2. เป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาความมั่นคง ในเขตพื้นที่ 3. ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี เริ่มปีงบประมาณ 2532 แล้วเสร็จปีงบประมาณ 2533 4. ราคาค่าก่อสร้าง 38 ล้านบาท 5. ลักษณะโครงการ เป็นโครงการประเภทอ่างเก็บน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ 6. ที่ตังหัวงานตั้งอยู่ที่หมู่บ้านดงหมู ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 5942 IV พิกัด 48 QVD 700 – 600 7. พื้นที่รับประโยชน์ ช่วยเหลือพื้นที่โครงการได้ประมาณ 2,000 ไร่ 8. การคมนาคมจากจังหวัดนครพนมไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 212 ถึงทางแยกเข้าโครงการระยะทางประมาณ 72 กม. จากทางแยกเข้าหัวงานโครงการระยะทางประมาณ 3 กม. รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 75 กม. 9. สภาพภูมิประเทศสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเปิด พื้นที่ทั่วๆไป มีลูกเป็นสูงต่ำสลับกันไป พื้นที่สำหรับการเพาะปลูกเป็นที่ราบระหว่างลูกเป็นแนวกับลำน้ำโขง 10. รายละเอียดข้อมูลของโครงการ10.1 ข้อมูลทางด้านอุทกวิทยาพื้นที่รับน้ำฝนเหนือที่ตั้งเขื่อน………………………………….. 15.9………………………………… ตารางกิโลเมตรปริมาณฝนเฉลี่ยปีละ……………………………………………….. 1,532.7……………………………… มม.ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเฉลี่ยปีละ………………… 7,397,600……………………………. ม.3พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกัก…………………………………………. 1,212……………………………….. ไร่พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับสูงสุด………………………………………….. 1,356……………………………….. ไร่ความจุของตะกอน………………………………………………….. 351,000…………………………….. ม.3เขื่อนประเภท………………………………………………………… เก็บกักน้ำ……………………………. สูง…………………………………………………………………………….. 13.00……………………………….. เมตรยาว……………………………………………………………………………… 870………………………………… เมตรสันเขื่อนกว้าง…………………………………………………………….. 8.0…………………………………. เมตรระดับสันเขื่อน……………………………………………………….. +160.50…………………………….. เมตร (รทก.)ระดับน้ำสูงสุด……………………………………………………….. +158.50…………………………….. เมตร (รทก.)ระดับน้ำเก็บกัก………………………………………………………. +158.00…………………………….. เมตร (รทก.)ปริมาตรน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด…………………………………….. 6.100……………………………….. ล้าน ลบ.ม.ปริมาตรน้ำที่ระดับน้ำเก็บกัก……………………………………. 5.017……………………………….. ล้าน ลบ.ม. 10.2 ระบบส่งน้ำคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ยาว……………………………… 2,400……………………………….. ม.คลองซอย 1 ขวา – ซ้าย ยาว………………………………… 6,500……………………………….. ม.คลองซอย 2 ขวา – ซ้าย ยาว………………………………….. 800………………………………… ม. 11. อาคารประกอบ11.1 อาคารระบายน้ำล้นใช้งาน (SERVIOCE SPIILWAY)ประเภท………………………………………………………. CHUTE SPILLWAY………………….. จำนวนช่องระบายน้ำ…………………………………………………… 1…………………………………… ช่องระดับสันฝาย………………………………………………………….. +158.00…………………………….. เมตร(รทก.)ระดับน้ำสูงสุด……………………………………………………….. +158.50…………………………….. เมตร(รทก.)ระบายน้ำสูงสุด…………………………………………………………… 10………………………………….. ม.3/วินาทีกว้าง………………………………………………………………………….. 5.00………………………………… เมตร 11.2 ท่อส่งน้ำเข้าคลองสายใหญ่ (CANAL OUTLET) ฝั่งซ้ายประเภท………………………………………………………………. ท่อระบายน้ำ…………………………. เส้นผ่าศูนย์กลาง……………………………………………………….. 0.60………………………………… เมตรชนิดของ LINER……………………………………. ท่อเหล็ก STEEL LINER……………… หนา……………………………………………………………………………… 6…………………………………… มม.ความยาวลอดตัวเขื่อน………………………………………………. 45.00……………………………….. เมตรจำนวนแถว…………………………………………………………………… 1…………………………………… แถวขนาด GATE…………………………………………………………….. 0.60………………………………… เมตรเส้นผ่าศูนย์กลางประตู………………………………………………. 0.60………………………………… เมตรCONTROL HOUSE…………………………………………………… 1…………………………………… หลังพื้นที่ชลประทาน……………………………………………………… 2,000……………………………….. ไร่ แนะแนวเรื่อง ออนซอนนครพนม ท่องเมืองอีสานในม่านหมอก →← โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวิดนครพนม www.nakhonpanom.com Design by ThemesDNA.com Scroll to Top