หมากข่างอีสาน

หมากข่างอีสาน การเล่นหมากข่าง เป็นเกมการเล่นของเด็กพื้นบ้านที่ใช้วัสดุประเภทไม้ที่มีในท้องถิ่นมาทำเป็นของเล่น เช่น ไม้พยุง ไม้แดง ไม้ประดู่ เป็นต้น การทำหมากข่างของชาวจังหวัดนครพนมในอดีตนั้น รูปทรงจะไม่เหมือนลูกข่างชาวไทยภาคกลางที่ใช้ตะปูเป็นแกนให้หมุนกับพื้น หมากข่างของชาวนครพนมจะใช้ไม้เนื้อแข็งมาสลักตกแต่งให้เป็นหมากข่างรูปทรงหัวใจหรือดอกบัวตูม โดยใช้เชือกทำตากป่านหรือปอมาพันรอบคอจนถึงตัวหมากข่างแล้วกระตุกเชือกให้หมากข่างหมุนตามเข็มนาฬิกา การเล่นหมากข่างของชาวนครพนมนั้น นับว่าเป็นเกมการแข่งขันชนิดหนึ่งที่นิยมเล่นกันในหมู่เด็กชาย โดยการแข่งขันจะมีแบบเดี่ยวและแบบทีม การเล่นหมากข่างมีส่วนช่วยให้เด็ก ๆ ได้แสดงออกทั้งทางร่างกาย จิตใจ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เล่นหลายประการ ซึ่งในปัจจุบันจะสูญหายไปเนื่องจากของเล่นชนิดต่าง ๆ ที่ทันสมัยมีมากขึ้น

อุปกรณ์การเล่น    หมากข่าง 1 ลูก เชือก ฝ้าย หรือเชือกป่าน ปอ ยาวประมาณ 1 เมตร จำนวน 1 เส้น ลานบ้านที่เรียบ ปราศจากสิ่งกีดชวาง                     การทำหมากข่าง   ใช้ไม้เนื้อแข็งสลักเป็นหมากข่างรูปทรงบัวตูมหรือรูปหัวใจคล้ายลูกดิ่งแต่มีคอ เมื่อสลักส่วนหัวแชละตัวหมากข่างได้แล้ว ส่วนหัวหรือคอจะเหลือจะเหลือให้ยาวไว้ก่อนเพื่อทดสอบว่าหมุนแล้วหนักหัวหรือไม่ สังเกตจกาการเอนตัวไปมาขณะหมุน ก็ตัดหัวออกบ้างจนได้ศูนย์ถ่วงจังถือว่าเสร็จสมบูรณ์                     วิธีเล่น    ทุกคนหมุนหมากข่างของตน ณ ลานที่กำหนด ของใครหมุนไดนานถือว่าชนะ หมากข่างใครหยุดหมุนหรือล้มก่อน ถือว่าแพ้ (ถ้าเป็นทีมก็หมุนแข่งขัน หาทีมชนะที่จะเป็นฝ่ายสับก่อนเช่นกัน)                      การเล่นมากข่าง   ผู้แพ้จะเป็นผู้หมุนหมากข่าง (หัน) ก่อนเพื่อให้ผู้ชนะใช้หมากข่างของตนที่พันเชือกไว้ (การพันเลือกจะอธิบายท้ายบท) สับลงไปยังหมากข่างที่กำลังหมุนให้กระเด็นเข้าป่า หรือหยุดหมุน ซึ่งเป็นเทคนิคหรือกลวิธีของผู้สับ เช่น สับคี้น (งัด) ข่วงล่างให้หมากข่างกระเด็นไป   สับข้างให้หมากข่างล้มหยุดหมุนให้ล้าหรือแตกไปเลย                       ชั้นตอนสับนี้ ถ้าสับไม่ถูกถือว่าพลาดต้องให้ฝ่ายแพ้ชนะแทนต่อไปหรือถ้าสับถูกหมากข่าง แต่หมากข่างของฝ่ายแพ้หมุนตอบและหมุนทนนานกว่า หมากข่างฝ่ายสับก็ถือว่าฝ่ายสับแพ้ต้องเปลี่ยนเกมเล่นเหมือนกัน เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า  แม่แบบกันตอบ หรือ ตอบแม่แบบ การสับของฝ่ายชนะนั้นถ้าฝ่ายแพ้กระเด็นไปไม่หันตอบแม่แบบหรือหมุนไม่ทนนานสู้หมากข่างฝ่ายสับสับครั้งเดียวฝ่ายชระนั้นถ้าฝ่ายแพ้กระเด็นไปไม่หันตอบแม่แบบหรือหมุนไม่ทนนานสู้หมากข่างฝ่ายสับสักครั้งเดียวฝ่ายสับก็จะสับไปเรื่อย ๆ ผ่ายแพ้ก็ห้นหมากข่างไปตลอดไม่มีการจับเวลาสับไปจนฝ่ายแพ้ยอมและเลิกเล่นเพื่อหาคู่ต่อสู้คนใหม่ หรือหาหมากช่างใหม่มาสู้อีกในคราวต่อไป                         การพันเชือกของฝ่ายแพ้ หรือฝ่ายหมุนให้เข้าสับ (ผู้แพ้ในรอบคัดเลือก ) จะพันเชือกเพื่อหมุนหมากข่าง โดยใช้มือข้างใดข้างหนึ่งจับลูกข่างตามที่ถนัดไว้ โดยไห้หัวหมากข่าวตั้งขึ้น   ใช้หัวแม่มือกดปลายเชือกไว้กับหัวหมากข่างให้แน่นแล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งพันเชือกรอบหัวหมากข่างตามเข็มนาฬิกาลงด้านล่างจนถังตัวหมากข่าง (ด้านข้าง)   จึงหยุดหลานเชือกที่เหลือพนกับนิ้วมือข้างที่ใช้พันเชือกไว้ ( ข้างที่ถนัดพร้อมที่จะกระตุกหมุนหมากข่าง) การจับหมากข่างด้วยมือข้างเดียวที่ถนัดกระตุกให้หมากข่างหมุนลงลานบ้านที่ใช้เป็นสนมแข่งลูกข่างจะหมุนให้ฝ่ายสับที่เตตรียมรอสับอยู่แล้วสับต่อ                     การพันเชือกของฝ่ายสับ     ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งที่ไม่ค่อยถนัดจับหมากข่างตั้งไว้ใช้หัวแม่มือข้างที่จับหมากช่างกดปลายเชือกให้เข้ากับหมากข่างให้แน่น    แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งพันเชือกรอบหัวหมากข่างทวนเข็มนาฬิกาพันลงให้สุดแค่คอหมากข่าง คว่ำหมากข่างชงเอาเชือกที่เหลือพันกับนิ้วก้อยมือข้างที่จะสับไว้หัวแม่มือกับนิ้วก้อยมือข้างที่จะสับไว้หัวแม่มือกับนิ้วกลางบีบตัวหมากข่าง นิ้วชี้กดที่ก้นหมากข่าง (ดังรูป) พร้อมที่จะสับลงไปยังหมากข่างคู่ต่อสู้ที่กำลังหมุนอยู่ให้กระเด็นไปตามต้องหาร                   ประโยชน์ที่ได้จากการเล่นหมากข่าง     เป็นการออกกำลังกายโดยเฉพาะช่วงแขน สายตาเรื่องการเล็งหาความแม่นยำ ฝึกให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินคลายเครียด ให้รู้จักยอมรับในกฎกติการู้แพ้รู้ชนะ