หมากอี่ Posted in วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรม หมากอี่ หมากอี่ หมากอี่ เป็นการละเล่นของเด็กมีลักษณะคล้ายไม้หึ่งของภาคกลาง แต่การเรียกและกิจกรรมเล่นอาจแตกต่างกันบ้าง การเล่นหมากที่จะนิยมเล่นในหมู่เด็กโต อายุประมาณ 9-15 ปี ในปัจจุบันเด็กจะไม่นิยมเล่นกันเนื่องจากผู้ใหญ่จะห้าม เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตรายในการตีไม้ไปถูกส่วนสำคัญของร่างกายใยตรงข้าม ถึงขั้นตาเสีย หัวแตกไปก็มี อย่างไรก็ตามการละเล่น ประเภทนี้ ในขนบทจังหวัดนครพนม ก็เคยนิยมเล่นกันมาก่อน ควรบันทึกไว้เพื่อเตือนความทรงจำให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาไว้บ้าง อุปกรณ์การเล่น ไม้ยาว ใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่น ๆ ที่มีลำตรงขนาดเหมาะมือจับไม่หนักหรือเบาจนเกินไป ยาวประมาณ 50 – 65 เซนติเมตร 1 ท่อน ไม้สั้น ใช้ไม้ชนิดเดียวกันกับข้อ 1 แต่ตัดสั้นกว่า โดยยาวประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร เจกะร่องดินแนวหลุมแนวยาวให้ไม้ยาวตามข้อ 1 งัดผ่านได้สะดวก ร่องยาว 5 -10 เซนติเมตร ผู้เล่น เล่นได้ทั้งประเภทเดี่ยวและเล่นเป็นที่ ที่นิยมทีมละ 2 – 3 คนถ้ามากกว่านี้จะช้าและเสียเวลามาก หมากที่เล่น หมากคี้น (งัด) ใช้ไม้ยาวคี้นไม้สั้นไปให้ไกลที่สุด หมากเตะ ใช้ไม้ยาวเตะไม้สั้นไห้กระเด็นไป หมากเตาะ ใช้ไม้ยาวตีไม้นั้นให้กระดอนขึ้นหลาย ๆ ครั้ง หมากวัด การใช้ไม้ยาววัดจากปากหลุมไปยังจุดไม้สั้นตกดิน หมากตี ใช้ไม้ยาวตีไม้สั้นให้กระเด็นไปไกลที่สุด หมากอี่ ฝ่ายแพ้จับไม้สั้นจากจุดสุดท้ายที่ฝ่ายชนะตีหล่นถึงดิน แล้วร้องว่า อี กลับมาหาหลุม วิธีเล่น แช่งหรือหาวิธีการว่าฝ่ายใดจะเล่นก่อนด้วยการเสียงหายหรือวิธีการอื่น ๆ เช่น โออดเหล่าตาแป๊ะ จับไม้สั้นไม้ยาว เป็นต้น ผ่ายชนะเล่นก่อนโดยใช้ไม้สั้นว่างขวางกับร่องดินแล้วใช้เไม้ยาวคี้น (งัด) ให้ไม้สั้นกระเด็นไปไหลที่สุด ฝ่ายรับถ้าเป็นทีมจะว่างตัวคอยรับไม้สั้นที่ฝ่ายเล่นคี้นไป โดยยืนอยู่ตามจุดที่คาดว่าฝ่ายเล่นจะคี้นไม้สั้นไปถึง ถ้าเล่นเดี่ยวก็ยินคอยตามที่เหมาะสมเพื่อไปรับไม้สั้นได้ ขั้นตอนนี้ถ้าฝ่ายริบรับไม้สั้นได้ก็จะเปลี่ยนเป็นฝ่ายเล่นทันที ฝ่ายเล่นสลับไปเป็ฯฝ่ายรับแทนหากฝ่ายรับรับไม่ได้ ฝ่ายเล่นก็วางไม้ยาวขวางร่องดินเหมือนวางไม้สั้นในขั้นแรก ฝ่ายรับก็โยนไม้สั้นไปใส่ไม้ยาวที่วางขวางร่องดินอยู่ ถ้าถูกก็จะเป็นฝ่ายเล่นทันที ถ้าโยนไม่ถูกก็จะเช้าสู่หมากเตะต่อไป หมากเตะและหมากวัด ฝ่ายเล่นกำปลายไม้ยาวด้านใดด้านหนึ่งให้ส่วนของไม้ยาวยื่นเข้าหาตัวโผล่ปลายไม้ไว้เล็กน้อยเพื่อว่างไม้สั้นไว้ระหว่างมือที่กำไม้กับปลายไม้ในแนวขวาง สลัดมือไห้ไม้สั้นกระดอนขึ้นแล้วตวัดไม้ยาวเตะไม้สั้นให้กระเด็นไปข้างหน้าฝ่ายรอรับไม้สั้นที่กระเด็นไป ถ้ารับได้ก็เป็นฝ่ายได้เล่น ถ้ารับไม่ได้ก็โยนไม้สั้นให้ใกล้ร่องดินที่สุด ฝ่ายรับก็คอยตีกันไม้สั้นไม่ให้ใกล้ร่องดินได้ ถ้าระยะสั้นกว่าไม้ยาวก็จะเปลี่ยนเป็นฝ่ายเล่นถ้าโยนไม้สั้นอยู่ห่างร่องดินเกินความยาวของไม้ยาว ฝ่ายเล่นก็จะใช้ไม่ยาวไปหาไม้สั้นได้กี่ช่วงไม้นับสะสมไว้โดยเล่นหมากเตะไปจนครบจำนวนจำนวนที่ตกลงกันว่าเกมกี่ช่วงไม้ ที่สิยมเกม 10 ช่วงไม้ยาว เมื่อเกมแล้วก็เล่นหมากอื่นต่อไป หมากเตาะ เมื่อเกมแล้ว ฝ่ายเล่นก็ใช้ไม้ยาวเตาะ (เคาะ) ไม้สันกลางอากาศไม่ให้ไม้สั้นตกดิน เตาะได้กี่ครั้งก็นับสะสมไว้ให้ผู้ร่วมทีมเตาะ (เคาะ) ต่อนับรวมกันได้เท่าไหร่ก็จะเล่นหมากตีต่อไปให้เท่ากับจำนวนที่เตาะได้ หมากตี ฝ่ายเล่นคนแรกเตาะได้เท่าไรก็ใช้ไม้ยาวตีไม้สั้นให้กระเด็นไปไกลที่สุดตามจำนวนครั้งที่ตนเตาะได้ ขั้นตอนนี้ไม่มีการรับไม้ เมื่อฝ่ายเล่นตีไม้สั้นครบทุกคนในทีมเล้วได้ระยะทางไกลเท่าใด ฝ่ายรับหรือฝ่ายแพ้ก็จะจับไม้สั้นวิ่งย้อนกลับไปกาหลุมพร้อมกับรัอง อี ดัง ๆ ให้ฝ่ายเล่น ซึ่งวางคนยืนดักฟังเป็นช่วง ๆ อยู่ว่าผ่ายแพ้ร้องอีมานั้น หยุดร้องอีตรงไหนแล้วให้คนอื่นร้องอีรับช่วงต่อเรื่อยไปจนถึงหลุมเป็นอันจบเกม ในกรณีที่เล่นเดี่ยวหรือตัวต่อตัวนั้นการวิ่งร้องอรผู้ชนะก็วิ่งไปพร้อมกันเพื่อฟังเสียงอี ก็เหนื่อยกันไปทั้งคู่ก็มี ประโยชน์ที่ได้จากการละเล่นประเภทนี้ ได้ความเพลิดเพลิน สนุกสนานเกิดทักษะในการละเล่น เช่น การตี การรับ ความไว การยอมรับในกฎกติกา ได้ออกกำลังกายหลายส่วน เช่น กำลังขา บริหารปอด ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ แนะแนวเรื่อง หมากยู้ส้าว →← หมากข่างอีสาน www.nakhonpanom.com Design by ThemesDNA.com Scroll to Top