
ประเพณีนมัสการองค์พระธาตุ วันเพ็ญเดือนสาม
ประเพณีหนึ่งที่ชาวลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นภารกิจที่ทุกคนจะต้อง เข้าร่วมพิธีคือ ประเพณีนมัสการองค์พระธาตุพนมในวันเพ็ญเดือนสาม พระธาตุพนมเป็นสิ่งศักดิ์และเป็นของคู่บ้านคู่เมือง เป็นมิ่งขวัญของชาวตะวันออกเฉียงเหนือ และของชาวลุ่มแม่น้ำโขงทุกคน พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมานาน ไม่น้อยกว่า 2,300 ปี ในฤดูเทศกาลวันเพ็ญ เดือน 3 ของทุกปี พุทธศาสนิกชนจะหลั่งไหล มาจากทุกสารทิศจำนวนเป็นแสน ๆ คนพากันมาสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม งานนมัสการพระธาตุประจำปีถือเอวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี เป็นวันแรกของงานไปสิ้นสุดเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3
ความเชื่อถือแต่โบราณ
ในสมัยโบราณ บรรดาชาวพุทธในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย และในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความเชื่อถือสืบต่อกันมาว่า ถ้าใครมีโอกาสได้เดินทางไปไหว้พระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์ ทำบุญทำกุศล ถวายเครื่องสักการบูชา บริจาคทรัพย์สวดมนต์ ท่องบทสาธยายคัมภีร์พระธรรมและเจริญเมตตา ภาวนาเฉพาะหน้าองค์พระธาตุพนมจิตใจจะสงบเยือกเย็นอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ถ้ายังไม่บรรลุพระนิพพานในชาตินี้เมื่อตายแล้ววิญญาณก็จะไปสู่สววรค์ เพราะฉะนั้นด้วยพลังของความเชื่อดังกล่าวนี้ได้ผลักดันให้แต่ละคนให้พยายามขวนขวายหาเพื่อบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เท่าที่สามารถจะทำได้ พวกชาวพุทธในถิ่นนี้ถือกันว่าองค์พระธาตุพนมไม่เพียงแต่จะเป็นเจดีย์ ที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังดำรงพระชนม์อยู่ได้เสด็จมาประทับแรมอยู่หนึ่งราตรี ซึ่งเรื่องนี้ได้กล่าวไว้ในตำนาน พระธาตุพนม
สถานที่ประสูติของเราตถาคต
สถานที่ตรัสรู้พระอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ
สถานที่แสดงปฐมเทศนา
สถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
พระธาตุพนม
กำแพงแก้วก่ายซุ้ม เสมา
เบิกช่องบัญชรคา- รวะไหว้
อุรังคธาตุพระพุทธา- นุภาพแห่ง
พระธาตุพนมประนมไว้ เวี่ยคล้องลำโขง
โยงดินย้อมน้ำธาตุ ประดิษฐาน
ส่ำกษัตริย์ราชบริพาร สะพรึ่บพร้อม
ช้างม้ามิ่งมโนญาณ พยุหบาท
เทวราชชุมราชล้อม หล่อเลี้ยงรักษา
ราหูกาลจักรเบื้อง ทวารบัง
โปรยประดับดอกประดัง ดอกแต้ม
กงล้อพระสัจจัง ผจงประจักษ์
พนมพุ่มบายศรีแย้ม หยัดร้อยรินธรรม
องค์ธรรมพระธาตุพริ้ง พนมธรรม
พนมจิตสู่จิตประจำ ประจักษ์แจ้ง
สูงสุดต่ำสุดสัม- ฤทธิศักดิ์ สิทธิ์แล
ตราบข่วงโขงไป่แล้ง ไป่ล้มพนมสถาน
อีกประการหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสยืนยันว่า พระสถูปเจดีย์อันเป็นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ก็ถือว่าเป็นปูชนีย์สถานเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น พวกชาวพุทธจึงถือว่าผู้มีศรัทธาทำบุญต่าง ๆ ในบริเวณสถานที่ดังกล่าวนี้ ย่อมได้ผลานิสงส์มากเหมือนกันพระธาตุพนมจึงกลายเป็นจุดรวมแห่งการแสวงบุญ
ในกรณีของพระธาตุพนมก็เหมือนกันกับปูชนียสถานในประเทศอื่น ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา คือ ได้ดัดแปลงรูปแบบแห่งการเคารพบูชาจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แห่งหนึ่งในจำนวน 4 แห่ง ซึ่งได้แก่สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในความหมายว่า พระบรมสารีริกธาตุและส่วนเหลืออื่น ๆ ของพระพุทธเจ้าเป็นสื่อแทน พระพุทธองค์ ในความรู้สึกของผู้มีศรัทธา ดังนั้น พระสถูปเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าพร้อมส่วนที่เหลืออื่น ๆ จึงถือเป็นจุดรวมแห่งการแสวงบุญ อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ
ในตำนานอุรังคนิพานได้กล่าวถึงการสร้างพระธาตุพนมในยุคแรก (ราว พ.ศ.8) ว่าพระมหากัสสปเถระซึ่งเป็นพุทธสาวกองค์สำคัญพร้อมพระอรหันต์ 500 นำพระอุรังคธาตุจากประเทศอินเดีย แล้วร่วมกับเจ้าพญาทั้ง 5 นคร คือ
พญาสุวรรณภิงคาร ผู้ครองเมืองหนองหานหลวง
พญาคำแดง ผู้ครองเมืองหนองหานน้อย
พญาจุลณีพรหมทัต ผู้ครองแคว้น 12 จุไทย
พญาอินทปฐนคร ผู้ครองแคว้น เขมรโบราณ
พญานันทเสน ผู้ครองอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ (โคตบูร)
พระมหากัสสปเถระได้พญาทั้ง 5 นคร ก่อสร้างองค์พระธาตุพนมที่ ดอยกปณคีรี หรือภูกำพร้า อยู่ในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เมื่อสร้างพระธาตุพนมเสร็จ พระมหากัสสปเถระ พระอรหันต์ แล้วเจ้าพญาเสด็จกลับไปแล้ว พระอินทร์และเหล่าเทพยดาทั้งปวงก็เสด็จมาฉลองพระธาตุ เป็นการใหญ่ นับเป็นงานพระธาตุครั้งแรก
พ.ศ.200 ในยุคของพญาสุมิตตธรรมวงศา ผู้ครองเมืองมรุกนคร และอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ องค์ต่อมาได้ร่วมกับพระอรหันต์ทั้ง 5 คือ พระมหารัตนเถระ พระรัตนะเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระและพระสังขวิชาเถระ ได้ร่วมกันบูรณะองค์พระธาตุพนม ให้สูงขึ้นราว 24 เมตร หลังจากบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างมโหฬาร และพระองค์ ได้ถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายบูชาพระธาตุ แล้วยังได้มอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง 8 แห่ง ในเขตแดนนั้น ซึ่งมีจำนวนมากถึง 3,000 คน เป็นผู้ดูแล รักษาพระธาตุโดยไมต้องเสียส่วยสาอากรซึ่งเรียกว่า “ข้าโอกาสพระธาตุพนม” จากนั้นมา ก็เข้าใจว่าคงจะมีงานพระธาตุเรื่อยมา
พ.ศ. 2233 – 2263 เจ้าราชครูหลวงโพนสเม็ก พระเถระชาวเวียงจันทน์ ได้นำครอบครัวชาวเวียงจันทน์ ประมาณ 3,000 ครอบครัว ล่องเรือมาตามแม่น้ำโขง และท่านได้เป็นผู้นำในการบูรณะองค์พระธาตุพนมครั้งใหญ่ โดยเสริมยอดพระธาตถพนมให้สูงขึ้นเป็น 47 เมตร ใช้เวลาในการบูรณะ ตั้งแต่ พ.ศ. 2236 – 2245 รวม 9 ปี เมื่อบูรณะเสร็จแล้วท่านได้นำครอบครัวเหล่านั้นไปอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ จนกระทั้งมรณภาพ
ในปี พ.ศ. 2263 รวมอายุ 90 ปี ในหนังสือประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสเม็ก ซึ่งเรียบเรียงโดย พระมหาแก้ว ถนโตภาโส เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2482 หน้าที่ 25 มีข้อความตอนหนึ่งว่า “อย่าน้อยท่านคงไปมาระหว่างจำปาศักดิ์กับธาตุพนม ปีละครั้งในงานนมัสการเป็นกิจวัตร” แสดงให้เห็นว่างานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีมีขึ้นก่อน ยุคนั้นมาแล้ว
พ.ศ. 2444 ท่านพระครูอุดรพิทักษ์ฯ (บุญรอด สมจิตร) ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูวิโรจน์รัตนมล ครองเมืองอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2446 ท่านได้เดินทางมาพร้อมคณะ โดยทางเกวียนถึงวัดพระธาตุพนม และเริ่มลงมือบูรณะพระธาตุพนม เมื่อวันขึ้น