บุญซำฮะ


บุญซำฮะ

บุญซำฮะขนบธรรมเนียมประเพณีของอีสานแตกต่างจากภาคกลางตรงที่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของภาคกลางได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู และคัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์ ส่วนขนบ- ธรรมเนียมของอีสานได้รับอิทธิพลจากล้านช้าง เข้าใจว่าวัฒนธรรมล้านช้างได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมจีน นั่นคือ การเคารพบรรพบุรุษ ผีปู่ตา ผีแถน ผีฟ้า ผีตาแฮก (ผีนาผีไร่) ขนบธรรมเนียม ประเพณีของภาคกลางจึงมีลักษณะเป็นพราหมณ์มากกว่าพุทธ ฮีตสิบสอง หรือ จารีตประเพณี ประจำสิบสองเดือน ที่สมาชิกในสังคมได้มีโอกาสร่วมชุมนุมกันทำบุญ เป็นประจำเดือนในทุกๆ เดือนของรอบปี “ฮีต” มาจากคำว่า “จารีต” ถือเป็นจรรยาของสังคม ถ้าฝ่าฝืนมีความผิด เรียกว่า ผิดฮีต หมายถึง ผิดจารีต ซึ่งฮีตสิบสองมีรายละเอียดดังนี้อีสานมีการนับถือประเพณีอย่างเคร่งครัดมาแต่ครั้งโบราณ และเป็นประเพณีของท้องถิ่นสืบมาหลายร้อยปี เรื่องฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่ เป็นเรื่องทางศาสนา จึงน่าจะนับถือกันมาตั้งแต่ครั้งวัฒนธรรมอินเดียเข้าสู่บริเวณนี้แล้ว เรียกสั้นๆว่า ฮีต-คลอง หรือถ้าจะเรียกให้เป็นแบบชาวบ้านแท้ก็ว่า” เปิงบ้านเปิงเมือง” เรื่องฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่นี้ มีผู้สูงอายุหลายท่านกล่าวไว้คล้ายๆกัน จะต่างบ้างก็เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะครั้งโบราณด้านหนังสือยังไม่เจริญ อาศัยการบอกเล่าจดจำกันมาเป็นส่วนใหญ่ ที่เขียนไว้นั้นเป็นส่วนน้อย                 ฮีตสิบสอง     “ฮีต” คงเป็นคำย่อของ “จารีต” เพราะอีสานใช้ “ฮ” แทน “ร” ฮีตสิบสองก็คือ จารีตที่ปฏิบัติกันในแต่ละเดือน ตรงกับทางภาคกลางว่าประเพณี 12 เดือนนั่นเอง ในสมัยโบราณเขาถือเอาเดือนอ้ายเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ (เดือนเจียงก็เรียก) แล้ววนไปจนถึงเดือน 12 เป็นเดือนสุดท้าย ในแต่ละเดือนมีประเพณีประจำเดือน ประเพณีเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องพุทธศาสนา แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นก็พยายามดึงเข้าพุทธ เพื่อให้ได้โอกาสทำบุญด้วย คือเดือนเจ็ด ทำบุญติดปีติดเดือน เรียกว่าทำบุญด้วยเบิกบ้าน ทำพิธีเลี้ยงมเหศักดิ์หลักเมือง เลี้ยงผีบ้านซึ่งเรียกว่าปู่ตา หรือตาปู่ ซึ่งเป็นผีประจำหมู่บ้าน และเรียกผีประจำไร่นาว่า “ผีตาแฮก” คือก่อนจะลงทำนาก็เซ่นสรวงบูชาเจ้าที่ผีนาก่อนเป็นการแสดงความนับถือรู้บุญคุณ”เดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช ฝูงหมู่เทพเล่านั้นบูชาแท้ซู่ภาย”ฮีตที่ ๗ บุญชำระหรือบุญเดือนเจ็ดการชำระล้างมลทิน ผงฝุ่น หรือสิ่งที่สกปรก รุงรังให้สะอาดปราศจากมลทินหรือความมัวหมอง เรียกว่า “ชำระ” หรือภาษาอีสานเรีกว่า “ซำฮะ” สิ่งควรเอาใจใส่ในการชำระให้สะอาดนั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ ความสกปรกภายนอก ได้แก่ ร่างกาย เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัยที่ และความสกปรกอีกอย่างหนึ่งคือ ความสกปรกภายใน ได้แก่ จิตที่มีความโลภ โกรธ หลง อันสิ่งที่เป็นอกุศลมูลหรือสิ่งเป็นมูลเหตุของความไม่ดีไม่งามที่จะทำให้จิตใจของคนเราเศร้าหมองได้ การชำระในประเพณีนี้ได้แก่ การที่บ้านเมืองเกิดความเดือดร้อน มีข้าศึกมาทำลาย มีโจรปล้น เกิดรบราฆ่าฟันแย่งชิงกันเป็นใหญ่ เกิดโรคระบาด ผู้คน ช้าง ม้า วัว ควาย ล้มตายเพราะผีเข้าเจ้าสูญ (ผีโกรธ) คนอีสานถือกันว่าบ้านเมืองเกิดเดือดร้อน ซาตาบ้านเมืองขาด จำต้องมีการชำระให้หายจากเสนียดจัญไรเหล่านั้น การทำบุญเกี่ยวกับการชำระบ้านเมืองนี้ เรียกว่า “บุญชำระ” และมีกำหนดทำกันในเดือน ๗ จึงได้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บุญเดือนเจ็ด” ซึ่งบุญเดือนเจ็ดนี้นักปราชญ์โบราณอีสานได้กล่าวไว้เป็นผญาว่า… เดือนเจ็ดเผาความฮ้ายอันตรายบ่มาผ่าน  นิมนต์พระขึ้นบ้านเล็งเป้าเข้าใส่ธรรม  บุญสิมาส่อยหยู้ซูส่งราศรี  บารมีผลทานสิไล่มารให้เลยพ้น  ตั้งแต่คนเฮาได้เคยยินมาตั้งแต่ก่อน  บุญชำฮะสละความเดือดฮ้อนเมืองบ้านสิฮ่มเย็น มูลเหตุที่ทำบุญฃำฮะนี้ มีเรื่องเล่าไว้ในหนังสือธรรมบทว่า สมัยหนึ่งในเมืองไพสาลี ได้เกิดข้าวยากหมากแพงและฝนแล้ง ผู้คน ช้าง ม้า วัว ควาย ล้มตายลงเป็นอันมาก เกิดมีโรคอหิวาต์ระบาด  ทั่วทั้งเมืองเต็มไปด้วยซากศพ  เจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองไพสาลีจึงได้ไป ทูลอาราธนานิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์อีก ๕๐๐ รูป เสด็จจากกรุงราชคฤห์มายังเมืองไพสาลีโดยทางเรือ เพื่อมาขจัดปัดเป่าหรือว่ามาชำระเสนียดจัญไรที่เกิดขึ้น  การเดินทางในสมัยนั้นใช้เวลาเดินทางถีง ๗ วัน จึงเสด็จมาถึงเมืองไพสาลีได้ พอเมื่อพระองค์เสด็จมาถึงแล้วเกิดฝนตกห่าใหญ่ในเมืองเกิดน้ำท่วมมีระดับประมาณหัวเข่า น้ำที่ท่วมนั้นกลายเป็นผลดีแก่เมืองไพสาลี โดยได้พัดพาเอาซากศพของคนและสัตว์ลงสู่แม่น้ำ และไหลออกสู่ทะเลในที่สุด ในครั้งนั้นพระองค์ได้ทำน้ำมนต์ใส่บาตร ให้พระอานนท์นำ น้ำมนต์นั้นไปพรมจนทั่วพระนคร โรคภัยไข้เจ็บก็เกิดระงับดับหายไป  ด้วยอนุภาพของพระพุทธเจ้าและน้ำพุทธมนต์นั้น คนโบราณอีสานอาศัยความเชื่ออันนี้ จึงได้พากันทำเป็นประเพณี  เมื่อถึงเดือน ๗ ของทุกๆปี ก็จะพากันทำบุญชำระบ้านเมืองอยู่เป็นประจำ.บุญซำฮะ คำว่า ” ซำฮะ ” ก็คือ ” ชำระ ” นั่นเองความหมายว่าต้องการชำระสิ่งที่รกรุงรังให้หมดมลทินเครื่องเศร้าหมองต่างๆโดยเฉพาะผ้านุ่ง ผ้าห่ม เครื่องใช้ที่สกปรกต้องซักฟอกชำระให้สะอาดด้วยการทำบุญให้ทาน เป็นต้นร่างกายและจิตใจจะได้ผ่องใสอยู่เย็นเป็นสุขเรื่อยไป