การฟ้อนรำหางนกยูง


การฟ้อนรำหางนกยูง

                   นาฏศิลป์   จังหวัดนครพนมได้มีการแสดงการฟ้อนรำที่เรียกได้ว่าเป็น   นาฏศิลป์อยู่หลายอย่าง   ซึ่งเป็นการแสดงดั้งเดิมสืบทอดกันมาและที่คิดขึ้นใหม่ผสม   ผสานกลมกลืนกันไป   รวมทั้งการได้สืบค้นการแสดงที่หายไปแล้วได้คิดท่าฟ้อนรำขึ้นใหม่ตามแนวทางที่ได้สืบคนก็มี ซึ่งพอนำมากล่าวได้ดังนี้
                        การฟ้อนรำหางนกยูง   เครื่องดนตรีที่ใช้มี   แคน   พิณ   โปงลาง   โหวด   ฉาบ   กลอง   ฉิ่ง
                        การแต่งกาย   แต่งกายแบบพื้นเมืองอีสาน   คือ เสื้อ ผ้าเหลืองอ่อนคอกลม หรือ คอจีน แขนกระบอก ผ้าถุง   สีเขียวสด   ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมัดหมี่ หรือผ้าพื้น มีเชิง (เวลาสวมเก็บชายเสื้อเข้าในผ้าถุง แล้วใช้ผ้าคาดทับแทนเข็มขัด)   ผ้าสไบ   ผ้าไหม   หรือผ้าฝ้ายลายใดก็ได้ห่มเฉียงบ่า   เครื่องประดับ   ต่างหู สร้อย   กำไลแขน
                        ประวัติการแสดง  ในปี พ.ศ. 2530 สมัยที่   นายอุทัย   นาคปรีชา   ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (พ.ศ. 2527-2531) ได้ฟื้นฟูรำบูชาพระธาตุพนมร่วมกับงานเทศกาลออกพรรษาและไหลเรือไฟ ฟ้อนหางนกยูงเป็นรำชุดหนึ่งที่ทางจังหวัดกำหนดให้เป็นรำบูชาพระธาตุพนม ซึ่งนำโดยอำเภอเมือง   จังหวัดนครพนม และได้ปฏิบัติติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
                        การฟ้อนหางนกยูงนี้ ในอุรังคนิทานมีกล่าวไว้ในบทพระธาตุทำปาฏิหาริย์ หลังจากพระอินทร์ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานในอุโมงค์ ภายในพระเจดีย์เป็นที่อนุโมทนาสาธุแก่เหล่าเทวดา   ครั้งนั้นพระอุรังคธาตุเสด็นออกมาทำปาฏิหาริย์เทวดาทั้งหลายมีความชื่นชมยินดียิ่งนัก   ในเวลานี้เองที่เกิดตำนาน รำหางนกยูงและรำบูชาพระธาตุพนมประจำปี ความว่า
                        …เทวดาทั้งหลายมีความชื่นชมยินดียิ่งนัก จึงส่งเสียงสาธุขึ้นอึงมี่ตลอดทั่วบริเวณนรคนธรรพ์ทั้งหลายประโคมด้วยดุริยดนตรีวัสสวลาหกเทวบุตรพาเอาบริวารนำเอาหางนำยูง เข้าไปฟ้อนถวายบูชาเทวดาทั้งหลาย ลางหมู่ขับ ลางหมู่ดีด สี ตี เป่า นางเทวดา   ทั้งหลายถือหางนกยูง ฟ้อนและขับร้องถวายบูชา…
                        ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่ารำหางนกยูง เป็นศิลปะการฟ้อนรำของจังหวัดนครพนม เป็นลีลาฟ้อนรำอีกแบบหนึ่งที่เป็นการเลียนแบบจากท่านกยูงรำแพนเป็นส่วนมาก
                        การฟ้อนหางนำยูงนี้มีผู้นำมาถ่ายทอดและฟ้อนรำเองตามคำบอำเล่าว่าเมื่อประมาณ 100 ปีเศษ ๆ โดยมีคุณตาพัน เหมหงษ์ ซึ่งเป็นชาวจังหวัดนครพนมโดยกำหนดท่านบุตรของอุปฮาดคนหนึ่งในสมัยโบราณ    เมื่อคุณตาท่านมีชีวิตอยู่ท่านมีชีวิตโลดโผนเป็นนักสู้รลมาก่อน ท่านสนใจการฟันดาบ เพลงดาบ กระบี่กระบอง และมวย ท่านจึงกลายเป็นครูดาบ กระบี่กระบอง และมวย เป็นผู้มีฝีมือเยี่ยมคนหนึ่ง
                        เวลาว่าง ๆ ชอบออกล่าสัตว์ หมูป่า และนกต่าง ๆ จากนั้นก็สะสมของป่าเอาไว้ เช่น หางนกยูง   แล้วนำมามัดเป็นกำ ๆ คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ซึ่งมีลีลาคล้ายกับการรำดาบแล้วก็นำไปถ่ายทอดให้ลูกหลานต่อไป
                        การฟ้อนหางนกยูงนี้ในสมัยก่อนนิยมรำเดี่ยวบนหัวเรือแข่ง   เมื่อมีงานประจำปีงานออกพรรษาความเชื่อว่าก่อนทีจะนำเรือเข้าแข่งจะนำเรือขึ้นไปถวายสักการะเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าจะนำเรือเข้าแข่งขัน   และจะต้องรำหางนกยูงเพื่อถวายต่อหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองด้วย   การรำหางนกยูงนี้จะรำเฉพาะเรือแข่งที่สำคัญและมีขื่อเสียงโด่งดังเท่านั้น
                        ศิลปะการฟ้อนหางนกยูงนี้   มีลีลาอ่อนช้อย สวยงาม   ถ้าขาดความอ่อนช้อยแล้วก็ขาดความสวยงามไป   การรำหางนกยูงหาคนรำสวยได้ยาก ด้วยเหตุนี้การรำหางนกยูงจึงหยุดชะงัก
                        ต่อมาเมื่อ  พ.ศ. 2491 นางเกษมสุข สุวรรณธรรมา   ซึ่งรับราชการอยู่ที่โรงเรียนอุเทนวิทยาคาร   อำเภอท่าอุเทน   จังหวัดนครพนม ได้ย้ายไปรับราชการที่โรงเรียนบ้านหนองจันทน์   ตำบลท่าค้อ   อำเภอเมืองนครพนม   ซึ่งมีนายทวี   สุริรมย์ เป็นหลานของคุณตาพัน   เหมหงษ์   ซึ่งได้รับการถ่ายทอดการรำหางนกยูงนี้ไว้   นางเกษมสุข สุวรรณธรรมา   จึงได้โอกาสและขอถ่ายทอดรำหางนกยูงนี้ไว้ตั้งแต่นั้นมา
                        ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2493   ได้นำไปฝึกสอนให้แก่นักเรียนในโรงเรียน เมื่อ พ.ศ. 2495 นางเกษมสุข สุวรรณธรรมา    คิดประดิษฐ์ท่ารำเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายท่า
                        ดนตรีที่ใช้ประกอบท่ารำในสมัยก่อนนั้นใช้รำเข้าจังหวะกลองยาว ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง เท่านั้น   ต่อมาเมื่อได้คิดประดิษฐ์ท่ารำเพิ่มเติมขึ้นแล้ว   ก็ได้ใช้ระนาด กลอง ฉิ่ง ฉาบ เป็นจังหวะประกอบการรำ
                        ท่ารำ  ฟ้อนหางนกยูงมีท่ารำต่าง ๆ ดังนี้
                        ท่าที่   1 ท่านกยูงร่อนออก
                        ท่าที่ 2   ท่ายูงรำแพน
                        ท่าที่ 3   ท่ารำแพนปักหลัก
                        ท่าที่ 4   ไหวัครู
                        ท่าที่ 5   ยูงพิศมัย
                        ท่าที่ 6   ยูงฟ้อนหาง
                        ท่าที่ 7   ปักหลักลอดซุ้ม
                        ท่าที่ 8   ยูงร่ายไม้
                        ท่าที่ 9   ยูงกระสันคู่
                        ท่าที่ 10 ยูงรำแพนซุ้ม
                        ท่าที่ 11   ยูงปัดรังควาน
                        ท่าที่ 12   ยูงเหิรฟ้า
                        คำอธิบายประกอบท่ารำ
                        ท่าที่   1   ท่าออก ทำหางนกยูงทั้งสองข้างตั้งวงซ้ายระดับไหล่   วิ่งซอยเท้าขึ้นข้างหน้าเวที แล้วซอยเท้าถอยลงมาแล้ววิ่งขึ้น หางนกยูงโบกไปมาตามจังหวะ   พับหางทั้งสองไปทางซ้ายแล้วก้างเท้าขวาไปข้าง ๆ แล้วหมุนลากไปรอบตัวทางขวาแล้วเปลี่ยนเป็นหมุนจากขวาไปซ้ายสลับกัน (ทำ   2   รอบ)
                        ท่าที่ 2 ยูงรำแพน  ท่าเตรียมยืนเท้าชิด วางหางนกยูงขนานกันยื่นไปข้างหน้ารอบแรกก้าวเท้าซ้ายเท้าขวาไขว้ไปข้างหน้า โบกหางทั้งสองขึ้นเหนือศีรษะแล้วตวัดหางไปทางด้านหลังแล้งตวัดเข้ามา   แขนซ้ายอยู่ระดับหน้าอก   รอบสองยกไหล่ทั้งสองพร้อมกับกระตุกข้อถอดแพนแยกหางออกซ้ายขวา
                        ท่าที่ 3 รำแพนปักหลัก   ท่าเตรียมยืนอยู่ในลักษณะเดิมเหมือนท่าที่ 2 รอบแรกเหยียดแขนทั้งสองในท่าตั้งวงซ้าย   แขนซ้ายหวาย แขนขวาคว่ำอยู่รำดับไหล่   แขนเหยียดตึงแล้วลากหางผ่านหน้าจากซ้ายขวายุบยืดตามจังหวะ   พับหางทั้งสองไปทางขวา (ลากหางต้องเอี้ยวตัวไป)   รอบสองบากหางทั้งสองผ่านหน้าจากขวามาซ้ายตามจังหวะทำเหมือนรอบแรก
                        ท่าที่ 4   ท่าไหว้ครู   ท่าเตรียมเหมือนท่าที่   3   ถือหางนกเหยียดแขนไปซ้ายเหมือนเดิม ลากหางผ่านหน้าตามจังหวะ เริ่มย่อเข่าทีละน้อยบากหางผ่านหน้าจากซ้ายไปขวาและจากขวาไปซ้าย 4   จังหวะ เข่าซ้ายถึงพื้นแล้ววางขนานไปข้างหน้ากระตุกข้อแตะพื้นพอดี
                        รอบสอง ในท่านั่งคุกเข่าซ้ายเหยียดขาขวาไปข้างหลัง โบกหางทั้งสองขึ้นตวัดอกเหวี่ยงข้างแล้วชักเข้ามากอด   กระตุกข้อยักไหลถอดหางทั้งสองออกเหมือนเดิม   (ทำท่านั่ง   3 รอบ)
                        ท่าที่   5 ยูงพิศมัย ท่าเตรียมอยู่ในท่าคุกเข่าเหมือนท่าที่   4   เหยียดแขนตั้งวงซ้ายพับหางไปข้างหลัง   ลากจากซ้ายไปขวาเอียงขาทิ้งหางไปขวาแล้วลากหางผ่านหน้า ตัวพร้อมกับยักไหบ่ทิ้งหางซ้าย   แล้วลากหางผ่านหน้าพร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้าตามจังหวะ
                        รอบสอง   ทำเหมือนเดิม
                        ท่าที่   6   ยุงฟ้อนหาง   ท่าเตรียม วางหางนำยูงขนสนไปข้างหน้า กระตุกข้อแล้วยื่นขึ้นพร้อมกับหางขึ้นข้างบนตวัดเหวี่ยงหางลงทั้งสองข้าง ชักเข้ามากอดในระอก   กระตุกข้อยกไหล่ ถอดหาง   โบกหางขึ้นบน   ท่านี้ทำเหมือนท่าที่ 2 แต่จะต้องโบกหางขึ้นแล้วหมุนตัวไปทาวซ้ายกระทุ้งเท้าซ้าย
                        รอบสอง   ก็โบกขึ้นทางขวามือ   กระทุ้งขวา ทำดังสลับกันไป
                        ท่าที่   7 ปักหลักลอดซุ้ม
                        ท่าเตรียม   ก้าวเท้าซ้ายขวาไว้เหมือนท่าที่   6 โบกหางทั้งสองข้างขึ้นบนตวัดหางทั้งสองเหวี่ยงลงข้างมากอดระดับอก แขนซ้ายทับแทนขวา ยกไหล่   ถอดหาง   วาดหางซ้าย   เหวี่ยงไปทางซ้าย   หมุนตัวไปทางซ้าย   ก้มศีรษะลอดแบนขา   ชักหางขวาลากผ่านศีรษะแล้วชักหางซ้ายตามลงข้างขวาทั้งข้างขวา
                        รอบสอง   ทำเหมือนเดิม
 
                        ท่าที่ 8 ยูงร่ายไม้