บุญบั้งไฟ
ชาวอีสานมีความเชื่อว่า เทพเจ้าสามารถดลบันดาลให้พืชผล ข้าวปลาอาหารในท้องนาของตน อุดมสมบูรณ์ได้ เทพเจ้าองค์นั้น คือ พระยาแถน
พระยาแถน เป็น เทพ ผู้ควบคุมฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาล หากทำการเซ่นไว้ บวงสรวงบูชาให้พระยาแถนพอใจ ท่านก็จะอนุเคราะห์ให้การทำนาในปีนั้นได้ผลบริบูรณ์ ตลอดจนดลบันดาลให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ด้วย โดยเฉพาะหากหมู่บ้านใดทำบุญบั้งไฟติดต่อกันมาถึงสามปี ข้าวปลาอาหารในหมู่บ้านั้นจะบริบูรณ์มิได้ขาด บางท้องถิ่นเชื่อว่าเป็นการส่งสัญญาณให้พระยาแถนได้รับทราบว่า ถึงฤดูการทำนาอีกแล้วอย่าลืมส่งฝนมาให้ตกตามฤดูกาล
ประเพณีบุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก (ราว เมษายน – พฤษภาคม)ประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ฝนฟ้าจะตกลงมา ชาวนาเตรียมไถนา แฮกนา(แรกนา)เพื่อรอฝนและเตรียมการทำนา การเตรียม
งานจะเริ่มเตรียมแต่เนิ่น ตั้งแต่เดือนห้า โดยชาวบ้านแต่ละคุ้มจะแบ่งงานกันว่า ใครจะทำอะไร นับตั้งแต่การจัดทำบั้งไฟ การฝึกหัดฟ้อนรำประกอบขบวนแห่บั้งไฟ การปลูกปะรำที่พักอาศัยเผื่อแขกที่มาร่วมงานจากหมู่บ้านอื่น การเตรียมอาหารไว้ทำบุญและเลี้ยงแขกในงาน นอกจากนี้พ่อแม่ที่มีลูกสาวก็จะเตรียมชุดรำเซิ้ง และชุดสวยงามที่สุดไว้ให้ลูกใส่ในวันงาน สถานที่จัดงานจะใช้วัดเป็นศูนย์กลาง บั้งไฟแต่ละบั้งต้องใช้เวลานานจึงจะแล้วเสร็จ
เพราะมีพิธีกรรมมากมาย เริ่มด้วยการหาฤกษ์หายามในการบรรจุบั้งไฟ จะเลือกเอาหญิงสาวพรหมจันทร์มาตอกบั้งไฟเป็นคนแรก เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้บั้งไฟขึ้นสูง บั้งไฟทำมาจากดินปืนบรรจุในกระบอกไม้ไผ่หรือเหล็ก ขนาดแล้วแต่ชนิดและประเภทของบั้งไฟ เช่นบั้งไฟหมื่น 20-120 กิโลกรัม บั้งไฟแสน 120 กิโลกรัม ขึ้นไป หรือ
บั้งไฟแบบมีหาง แบบไม่มีหาง บั้งไฟตะไล
การสมโภชบั้งไฟ
ก่อนวันแห่บั้งไฟหนึ่งวัน เรียกว่า วันสุกดิบ คณะเซิ้งบั้งไฟแต่ละคุ้มจะแห่ไปรวมกันที่วัด ทำบุญเลี้ยงพระ และเลี้ยงแขก หญิงสาวจะแต่งตัวสวยไปช่วยงาน หากผู้ปกครองของหญิงสาวคนใดไม่ให้ความร่วมมือ จะเป็นบาป ตกนรกแสนกัปแสนกัลป์ และเป็นต้นเหตุให้บ้านเมืองเดือดร้อน ฟ้าฝนไม่อุดมสมบูรณ์ ทำไร่ทำนาไม่ได้ผล วันสมโภชนี้อาจมีการบวชนาค สรงน้ำพระภิกษุสงฆ์ หรืออาจจะมีคณะผ้าป่ามาร่วมในงานสมโภชด้วย
วันแห่บั้งไฟตอนเช้ามีการถวายภัตตราหารแด่พระภิกษุสงฆ์ที่ศาลาการเปรียญ และรับผ้าป่า จากนั้นนำขบวนแห่ไปคาราวะมเหศักดิ์หลักเมือง เจ้าพ่อปู่ตา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน แล้วตั้งขบวนแห่ตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ในขบวนแห่จะมีตัวบั้งไฟที่ตกแต่ง(เอ้)อย่างสวยงาม ขบวนฟ้อนเรา เรียกว่า เซิ้งบั้งไฟ นำขบวนด้วย มีขบวนแสดงความเป็นอยู่ อาชีพ ขบวนตลกขบขัน
ตัวอย่างกาพย์เซิ้งบั้งไฟ
” โอ เฮา โอ กะสัทธาเฮาโอ
ขอเหล้าเด็ดนำเจ้าจักโอ
ขอเหล้าโทนำเจ้าจักถ้วย
หวานจ้วยจ้วยต้วยปากหลานซาย
ตักมายายหลานซายให้คู
คั่นบ่คู่ตูข่อยบ่หนี
ตายเป็นผีกะสินำมาหลอก
ออกนอกบ้านกะสิหว่านดินนำ
คั่นให้แล้วหลานซายสิให้พร
เลี้ยงควายด่อนเป็นโตเขาคำ
เลี้ยงควายดำให้เป็นโตเขาแก้ว
เลี้ยงใหญ่แล้วกะคาคไฮ่ไถ่นา…….”
การจุดบั้งไฟ
ในวันจุดบั้งไฟ เวลาเช้ามีการทำบุญเลี้ยงพระ เลี้ยงดูญาติโยม แล้วแห่บั้งไฟรอบอุโบสถเพื่อถวายแด่เทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วนำบั้งไฟไปไว้ในที่จัดเตรียมไว้สำหรับจุดบั้งไฟ การจุดจะจุดบั้งไฟเสี่ยงทายก่อน ถ้าไม่ขึ้น(ชุติดค้าง)ก็ทายว่าน้ำท่าประจำปีจะมากและทำให้พืชไร่ในที่ลุ่มเสียหาย ถ้าจุดแล้วบั้งไฟแตกทายว่าแผ่นดินจะแห้งแล้ง ถ้าจุดแล้วขึ้นสวยและสูง ชาวบ้านจะส่งเสียงไชโยตลอดบริเวณ เพราะเชื่อว่าข้าวกล้าและพืชไร่ในท้องทุ่งจะให้ผลบริบูรณ์ หลังจากบั้งไฟเสี่ยงทายแล้ว ก็จะจุดบั้งไฟแข่งขันกัน บั้งไฟคุ้มใดขึ้นได้สูงที่สุดจะเป็นผู้ชนะถ้าบั้งไฟไม่ขึ้น หรือแตก ช่างทำบั้งไฟจะถูกหามลงโคลนตม หลังจากจุดเสร็จก็จะเป็นพิธีมอบรางวัลจากนั้น จะพากันเซิ้งกลับบ้านหรือไปบ้านช่างบั้งไฟ
การนำฮอยไฟ
เป็นการเล่นสนุกสนาน ครบงัน หลังจากจุดบั้งไฟไปแล้ว และเป็นการสูตรขวัญให้กับช่างบั้งไฟ เพื่อเป็นมงคล และฉลองอย่างสนุกสนาน เป็นการขอบคุณทุกคนที่ร่วมมือร่วมใจกัน
ประเพณีบุญบั้งไฟกับวิถีชีวิตชาวอีสานชาวอีสานจึงมีความผูกพันธ์กันอย่างเกนียวแน่น อีกทั้งยังถือ
เป็นการทำบุญสร้างคุณงามความดี ความเชื่อถือแต่ครั้งโบราณกาล และเป็นการรวมพลังสามัคคีกันได้เป็นอย่างดี
www.nakhonpanom.com