พิธีเหยา
ความเป็นมาของพิธีเหยา
ผีฟ้าหรือผีแถน มีลักษณะเป็นเทพมากกว่าผี และเป็นผู้ที่อยู่สูงกว่าผีอื่นชนิดอื่น มิได้อยู่บนต้นไม่ ภูเขา หรือพื้นดิน ชาวอีสานทุกท้องถิ่นนับถือผีฟ้ากันอย่างเคร่งครัดจริงจังชาวอีสานส่วนใหญ่มีความเชื่อศรัทธา “ผีฟ้าหรือแถน ” ซึ่งเชื่อว่ามีบทบาทสามารถให้ดีให้ร้ายแก่มนุษย์ สามารถดับยุคเข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวงได้ตลอกจนคอยเช่วยเหลือมนุษยืเมื่อยามประสบ
ความเดือดร้อนหรือประสบภัยพิบัติ เป็นต้นว่า เมื่อยามเจ็บป่วยไข้ ชาวบ้านก็จะทำพิธีเหยา หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า ลำผีฟ้า โดยอัญเชิญ อ้อนวอนขอร้องให้ผีฟ้าลงมาช่วยขจัดโรคภัย ผีฟ้าที่อัญเชิญลงมานั้นว่วนใหญ่มีชื่อพ้องกับตัวละครในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน เช่น พิมพา จูมคำ ศรีธน มโนรา สีดา สินชัย อรพิม เป็นต้น เชื่อว่าขณะที่บุคคลดังกล่าวตอนยังมีชีวิตตอยู่บนโลกนั้นต้องเคยประกอบคุณงามความดี คอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมาอย่างต่อเนื่อง ได้สั่งสมบุญบารมีไว้มาก ดังนั้นเมื่อตายไปจึงได้ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ กลายเป็น “ ผีฟ้า” สามารถลงมาช่วยเหลือผู้คนบนโลกได้เช่นเคย ชาวอีสานจึงเชื่ออย่างสนิทใจว่า ผีฟ้าเป็นผีหรือเทพที่ทรงคุณธรรม เป็นทั้งผู้สร้างโลกและทำให้เกิดมนุษย์ ตลอดจนคอยช่วยเหลือมนุษย์ เมื่อยามประสบปัญหาเดือดร้อน ถือเป็นผีบรรพชนของตนเองจึงต้องศรัทธาเคารพอย่างยำเกรง
ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีเหยาของชาวผู้ไทย
การที่ชาวอีสานต้องอ้อนวอนอัญเชิญผีฟ้า ให้มาช่วยรักษาผู้ป่วยนั้น ด้วยเชื่อว่าการเจ็บป่วยของมนุษย์ น่าจะเกิดจากการล่วงละเมิดต่อผี เรียกว่า “การผิดผี” ผีจะลงโทษให้มีอันเป็นไปต่างๆ การเหยาหรือลำผีฟ้าเป็นพิธีกรรมรักษาผู้ป่วยโดยอัญเชิญผีฟ้าให้ลงมาสิงสถิตในร่างของคนทรงหรือ “นางเทียม” (ผู้หญิงที่สมมติขึ้น) เพื่อจะให้ทำนายลักษณะอาการของผู้ป่วย ประกอบพิธีกรรมรักษาและยังเป็นสื่อกลางระหว่างผีที่มากระทำให้ร้ายกับผู้ป่วยให้มีความเข้าใจต่อกันอีกด้วย
พิธีกรรมเหยาของชาวผู้ไทย จำแนกได้ 4 ลักษณะดังนี้
1. การเหยาเพื่อชีวิต เป็นลักษณะการเหยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย หรือเหยาต่ออายุ ภาษาหมอเหยาเรียกว่า เหยาเพื่อเลี้ยมหิ้งเลี้ยมหอ
2. การเหยาเพื่อคุมผีออก เป็นการสืบทอดหมอเหยา กล่าวคือ เมื่อมีผู้ป่วยรักษาอย่างไรก็ไม่หาย เมื่อเหยาดูแล้ว ผีบอกว่าจะต้องเป็นหมอเหยารักษาจึงจะหาย ดังนั้นหมอเหยาจึงมีการเหยาคุมผีออก (เนื่องจากมีผีร้ายเข้าสิง) ถ้าผีออกผู้ป่วยก็จะลุขึ้นมาร่ายรำกับหมอเหยาด้วยจะทำให้อาการป่วยไข้นั้นหาย ผู้ที่เป็นหมอเหยาที่มาทำหน้าที่เหยาก็จะมีตำแหน่งเป็นแม่เมือง ส่วนผู้ป่วยที่หายก็จะกลายเป็นหมอเหยาต่อ ซึ่งจะมีตำแหน่งเป็นลูกเมืองต่อไป
3. การเหยาเพื่อเลี้ยงผี เนื่องจากในปีหนึ่งๆหมอเหยาจะไปเหยาเพื่อรักษาผู้ป่วยบ้างผรือเหยาเพื่อจุดประสงค์อื่นก็ตาม จำเป็นที่หมอเหยาจะต้องจัดงานเลี้ยงเพื่อขอบคุณผี โยจะจัดในช่วงเดือน 4 หรือเดือน 6 ของทุกๆปี แต่ถ้าในปีใดหมอเหยาไม่ได้เหยามากนักหรือว่าข้าวปลาไม่อุดมสมบูรณ์ก็จะไม่เลี้ยง หากแต่จะทำพิธีฟายน้ำเหล้า(ใช้ใบและดอกไม่มาจุ่มน้ำเหล้าและประพรมให้กระจายออกไป) แทนในการเหยาเลี้ยงผีนั้นอาจะเป็นแม่เมืองหรือลูกเมืองเป็นผู้กระทำก็ได้ โดยผู้เป็นเจ้าภาพจะเชิญแขกหรือบรรดาหมอเหยาด้วยกัน ตลอดจนญาติพี่น้องมาช่วยในการจัดงาน โดยจะ มีการเหยาอยู่ 2 วันกับ 1 คืน
4. การเหยาเอาฮูปเอาฮอย เป็นพิธีกรรมเหยาในงานประเพณี การเหยาเอาฮูปเอาฮอยจะทำกันในงานบุญพระเวสฯของแต่ละปี และจะทำติดต่อกัน 3 ปี เว้น 1 ปี จึงจะทำอีก พิธีเหยานี้ส่วนใหญ่ผู้ทำพิธีจะเป็นผู้ชายล้วน คำเหยาหรือกลอนจะเป็นไปในเรื่องของอวัยวะเพศและเรื่องเพศสัมพันธ์ แม้แต่การสอยก็เป็นคำลามก
วัตถุประสงค์ของพิธีเหยา
1. เพื่อรักษาผู้ป่วย
2. เพื่อต่ออายุหรือเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
3. เพื่อขอบคุณผีหรือวิญญาณที่มาช่วยรักษาผู้ป่วย
4. เพื่อช่วยปกปักรักษาให้อยู่ดีมีสุข
อุปกรณ์และองค์ประกอบที่ใช้ในพิธีเหยา
ในการเหยาของชาวอีสานนั้นส่วนใหญ่มักมีองค์ประกอบ 4 ส่วนกล่าวคือ
1. หมอเหยา (บางท้องถิ่นเรียกว่าหมอลำผีฟ้า)
2. หมอแคน
3. ผู้ป่วย
4. เครื่องคาย ซึ่งประกอบด้วย
๑. ผ้าซิ่น ๑ ผืน มีหัว มีตีน (มีเชิง ) นิยมใช้ผ้าฝ้าน ๑ วา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นหญิง และผ้าซิ่น ๑ ผืนสำหรับผู้ป่วยที่เป็นชาย |