ประเพณีโส้ทั่งบั้ง


ประเพณีโส้ทั่งบั้ง

ชาวโส้เป็นชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ที่ ตำบลนาโพธิ์ ตำบลโพธิ์ไพศาล ตำบลนาเพีย อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร และยังกระจัดกระจายอยู่ที่อื่นๆ เช่น ตำบลล้านค้อ ตำบลขมิ้น อำเภอท่าอุเทน อำเภอปลาปาก อำเภอศรีสงคราม กิ่งอำเภอดงหลวง และกิ่งอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ในคราวสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จไปตรวจราชการมณฑลอุดรและอีสานในปี พ.ศ. 2449 ซึ่งกล่าวถึงคนต่างจำพวกไว้ว่า

“พวกกะโซ้ เป็นข่าผิวคร้ามกว่าชาวเมืองพวกอื่น และพูดภาษาของตนต่างหาก มีในมณฑลอุดรหลายแห่ง แต่รวมกันอยู่มากเป็นปึกแผ่นที่เมืองกุสุมาลย์มณฑลในจังหวัดสกลนคร เจ้าเมือง กรมการเมือง และราษฎรล้วนเป็นข่ากะโซ้ทั้งนั้น บอกว่าถิ่นเดิมอยู่ ณ เมืองมหาชัยกรองแก้วทางฝ่ายซ้าย” ชาวโส้มีการอพยพถิ่นฐานหลายครั้งด้วยกัน ส่วนใหญ่การอพยพเกิดขึ้นหลังจากไทยส่งกองทัพไปปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ในปี พ.ศ. 2369 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการละเล่นของชาวโส้ในนิทานโบราณคดี ไว้ว่า

“ฉันเห็นการเล่นอย่างหนึ่ง ซึ่งพระอรัญอาษาเจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑลเอามาให้ดูเรียกว่า “สะลา” คนเล่นล้วนเป็นชายเปลือยตัวเปล่า นุ่งผ้าขัดเตี่ยวหรือมีชายห้อยข้างหน้ากับข้างหลังอย่างเดียวกับเงาะนุ่ง “เลาะเตี๊ยว” ลักษณะเล่นนั้นมีหม้ออุตั้งอยู่ตรงกลางหม้อหนึ่ง คนเล่นเดินเป็นวงรอบหม้ออุ มีต้นบทนำขับร้องคนหนึ่ง สะพายหน้าไม้คนหนึ่งมีฆ้องเรียกว่า “เพนาะ” คนหนึ่ง ถือไม้ไผ่ 3 ปล้องสำหรับกระทุ้งดินเป็นจังหวะ 2 คน คนรำ 3 คน ถือชามติดเทียน 2 มือคนหนึ่ง ถือตะแกรงคนหนึ่ง ถือมีดกับสิ่วเคาะกันเป็นจังหวะคนหนึ่ง รวม 8 คนด้วยกัน กระบวนการเล่นไม่มีอะไรนอกจากเดินร้องรำเวียนเป็นวง เล่นพักหนึ่งแล้วก็นั่งลง กินอุ แล้วก็ร้องรำไปอีกอย่างนั้น เห็นได้ว่าเป็นการเล่นของพวกข่าตั้งแต่ยังเป็นคนป่า เมื่อมาเล่นให้ดู ดูคนเล่นก็ยังสนุกกันดี”

การฟ้อนโส้ทั้งบั้งได้มีการปรับปรุงขึ้นใหม่โดยใช้ผู้แสดงหญิงล้วน ซึ่งแตกต่างจากการแสดงดั้งเดิม มีดนตรีประกอบทำนองลำผู้ไทของสกลนคร การฟ้อนโส้ทั้งบั้งประกอบด้วย


1. ล่ามผู้ชาย
3. เพื่อนนางเทียม
5. คนทั่งบั้ง
7. นางรำ

1 คน
3 คน
6 คน
10-12 คน

2. นางเทียม
4. นักดนตรีชาย
6. ผู้แสดงประกอบ
 

1 คน
6 คน
6 คน