รอยพระพุทธบาทเวินปลา

 

ประวัติความเป็นมา

ตำนานความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทเวินปลา กล่าวไว้ว่า ในสมัยครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระภิกษุรูปหนึ่งล่องเรือมาตามลำน้ำโขง พอมาถึงสถานที่ซึ่งประดิษฐานรอยพระพุทธบาทในปัจจุบัน เกิดหิวน้ำ แต่ไม่มีขันตักน้ำ จึงเด็ดเอาใบได้มาทำเป็นจอกตักน้ำโดยมาปลงอาบัติ (ต้นได้มีอยู่ 2 ชนิด คือ ต้นได้ธรรมดา และต้นได้ท่านมรณภาพไปแล้วจึงเกิดเป็นพญาปากคำ (ปลาตะเพียนทอง) มีบริวารถึง 500 ตัวเพื่อชดใช้กรรม ตำนานกล่าวด้วยว่า พญาปากคำตัวนี้อายุยืนไปจนถึงพระศรีอริยเมตตรัยมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (สิทธัตถะ) เสด็จมาที่อำเภอธาตุพนม แล้วได้เสด็จผ่านนมทีพระธาตุอิงอัง เมืองท่าแขก ประเทศลาวแล้วเสด็จเลยมาถึงที่ตั้งรอยพระพุทธบาทเวินปลา พระองค์จึงตัดตอบว่า มีพญาปากคำตัวหนึ่งแสดงอาการอยากได้ของที่ระลึกเพื่อให้คนกราบไว้บูชาพญาปากคำ จึงถือโอกาสเล่านิทานประวัติดังกล่าวข้างต้น เสร็จแล้วพระองค์จึงประทับรอยพระบาทไว้ที่โขดหินกลางแม่น้ำ ห่างจากฝั่งประมาณ 100 เมตร ห่างจากวัดพระบาทเวินปลาประมาณ 150 เมตร เหตุที่ชื่อว่าพระพุทธบาทเวินปลา เพราะรอยพระบาทตั้งอยู่ในโขดหินกลางน้ำ (ภาษาพื้นเมือง “เวิน” คือ วังน้ำวน) และเนื่องจากพญาปากคำเป็นผู้ขอรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จึงได้ชื่อว่า “รอยพระบาทเวินปลา”

ความสำคัญต่อชุมชน
รอยพระพุทธบาทเวินปลา จะปรกกฏในช่วงเดือน เมษายน โดยจะปรากฏชัดในช่วงสงกรานต์และจะมีประเพณีนมัสการบูชารอยพระพุทธบาทเวินปลา ในช่วงเวลา 12 เมษายน – 16 เมษายน ทุกปี เพื่อความเป็นศิริมงคล

รอยพระพุทธบาทเวินปลา

ที่ตั้ง บ้านเวินพระบาท ตำบลเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

สภาพภูมิศาสตร์ รอยพระพุทธบาทเวินปลาอยู่บนโขดหินเล็ก ๆ ในแม่น้ำโขงที่บนฝั่ง ห่างกันประมาณ 100 เมตร ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีเนินดินเล็ก ๆ ขนาด 30 x 50 เมตร สูง 1 เมตร จากพื้นที่โดยรอบ เรียกว่าดอนพระบาท บริเวณนี้มีลำน้ำใกล้ ๆ คือ ห้วยทวย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ และห้วยบ่ออยู่ด้านทิศใต้

หลักฐาน ศาสนสถานสำคัญในบริเวณนี้ มี 2 แห่ง คือ รอยพระพุทธบาทเวินปลา ประดิษฐานอยู่บนโขดหินในแม่น้ำโขง และซากฐานเจดีย์บนเนินดินดอนพระบาท ซึ่งอยู่บนตลิ่งเยื้องกับรอยพระพุทธบาทเล็กน้อย

รอยพระพุทธบาทเวินปลา เป็นรอยพระบาทที่อยู่บนโขดหินเล็ก ๆ ในแม่น้ำโขงไม่ห่างจากตลิ่งมากนัก โขดหินนี้อยู่ในแนวตั้งเอนมีขนาดยาว 2.10 เมตร สูงพันน้ำขึ้นมา 1.98 – 2 เมตร ด้านบนมีลักษณะคล้ายรอยเท้ามนุษย์ 2 รอย รอยบนอยู่ในแนวนอน รอยล่างอยู่ในแนวตั้ง

รอยพระพุทธบาทเวินปลา คือรอบพระบาทที่อยู่ด้านบน ลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 55 เซนติเมตร ยาว 2.05 เมตร ฝ่าเท้าเป็นแผ่นแบนเรียบ ตรงกลางมีรูกรม 1 รู มีนิ้ว 5 นิ้ว นิ้วโป้งอยู่ด้านล่าง สันนิษฐานว่า ร่องรอยที่เกิดบนโขดหินนี้มีส่วนคล้ายพระพุทธบาทลักษณะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่มาภายหลังมีการสกัดตกแต่งเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย จึงทำให้เหมือนรอยพระพุทธบาทมากยิ่งขึ้น

รองเท้ามาร สันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเพื่อให้สัมพันธ์กับรอยพระพุทธบาทซึ่งอยู่ด้านบน รอยนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ลักษณะเป็นรอยบุ๋มลงคล้ายรอยเท้ามนุษย์มาก ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 1.15 – 1.20 เมตร

ใต้โขดหินนี้มีเศษอิฐกระจายเกลื่อน สันนิษฐานว่าเป็นซากอาคารเก่าที่ถูกน้ำกัดเซาะพังลงแม่น้ำไปแล้วและยังเชื่อว่าในน้ำมีพระพุทธรูปอีก 1 องค์  ซากเจดีย์ก่อด้วยอิฐ 1 องค์ ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน มีขนาดกว้าง 150 x 180 x 70 เซนติเมตร บริเวณนี้ยังมีเศษภาชนะดินเผา ภาชนะดินเผาบรรจุกระดูก และที่สำคัญคือ เศียรพระพุทธรูปสำริด 1 เศียร ขนาดกว้าง 3.8 เซนติเมตร สูง 5.6 เซนติเมตร ลักษณะพระพักตร์มีพระเกศาขมวดขนาดเล็ก พระกรรณเป็นขมวดม้วนและมีรอยขีดยาวลงมาช่วงติ่งพระกรรณ เศียรพระพุทธรูปนี้สร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคการหล่อสำริดแบบสูญขี้ผึ้ง (ost wax) การหล่อยังไม่ดีนักผิวสำริดไม่เรียบ โลหะมีส่วนผสมของทองแดงค่อนข้างมาก มีร่องรอยการลงรักปิดทอง ด้านอายุนั้นนักวิชาการบางท่านเสนอความเห็นว่า น่าจะอยู่ในช่วงสมัยทวารวดี บางท่านเสนอความเห็นว่า น่าจะอยู่ในช่วงมัยทวารวดี บางท่านเสมอว่าเป็นพุทธศิลป์ลาว

อายุ

รอยพระพุทธบาทเวินปลามีคำกล่าวอ้างอยู่ในตำนานอุรังคธาตุซึ่งเป็นตำนานที่น่าจะแต่งขึ้นในราวปี พ.ศ. 2176 -2181 ดังนั้นรอยพระบาทแห่งนี้ คงจะเป็นที่นับถือมาไม่ต่ำกว่าพุทธศตวรรษที่ 22