ลำห้วยฮ่องฮอกับบ้านฮ้างโพนแดง
ลำห้วยฮ่องฮอ เป็นลำน้ำขนาดเล็ก มีจุดเริ่มต้นจากภูกระแต(ภูกระแต) เป็นภูดินและหินลูกรังเป็นส่วนใหญ่จะมีหินดานบ้างเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตรจุเริ่มต้นของภูกระแตนับจากหมู่บ้านภูเขาทอง ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมยาวเป็นเนินดินทอดยาวไปทางทิศเหนือผ่านตำบลอาจสามารขาทอง ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมยาวเป็นเนินดินทอดยาวไปทางทิศเหนือผ่านตำบลอาจสามารถ ตำบลเวินพระบาท ตำบลรามราชอำเภอเมืองนครพนม ตำบลนาคำ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
ลำห้วยฮ่องฮอเริ่มต้นที่บ้านสำราญ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนมในฤดูกระแตลงไปทางทิศใต้ชาวบ้านเรียกว่า ฮ่องฮอ บางส่วนของฮ่องฮอจะกว้างบ้างอคบบ้าง บางแห่งเป็นเวิ้งกว้างแต่ไม่ลึกมาก ชาวบ้านจะเรียกหนองน้ำ หนองน้ำ โดยตั้งชื่อแต่ละหนองน้ำตามสภาพพื้นที่หรือชื่อต้นไม้ที่ปรากฏให้เห็นหรืออาจตั้งชื่อตามสถานที่สำคัญ ก็มีซึ่งที่ตั้งแต่ละหนองน้ำต่างๆ จะอยู่ในพื้นที่ปกครองของอำเภอเมืองนครพนมทั้งสิ้น ดังนี้
หนองซำเหนือ อยู่ในเขตหมู่บ้านไผ่ล้อม กับหมู่บ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม ที่เรียกว่าหนองซำเหนือเพราะคำว่า ซำ หมายถึง บริเวณที่มีน้ำซับ หรือน้ำซำ ที่ภาคอีสานนำยมเรียก ซึ่งจะมีน้ำซึมอยู่ตลอดแม้หน้าแล้งก็ไม่แห้งเหมือนที่อื่น
หนองธรรมเนียม อยู่ระหว่างหมู่บ้านคำเกิ้มกับหมู่บ้านไผ่ล้อม ตำบลอาจสามารถ เมื่อมีงานเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ชาวบ้านจะไปร่วมทำบุญกราบไหว้พระธาตุ ที่วัดบนภูกระแต (เขตวัดป่าบ้านไผ่ล้อมในปัจจุบัน) เมื่อผ่านหนองน้ำก็จะหยุดพักผ่อนกันตามธรรมเนียม มีการละเล่นสนุกสนานบ้างจึงเรียกว่า หนองธรรมเนียม
หนองปากเสือ ในสมัยก่อนบริเวณหนองน้ำนี้จะมีเสือมากเหนือหนองน้ำขึ้นเนืนไปทางทิศตะวันตกจะมีโขดหิน เรียกว่า ถ้ำเสือ ปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่ หนองปากเสือแห่งนี้ชาวบ้านเล่าว่าแต่ก่อนจะพบเห็นเสือลงมากินน้ำบ่อย ๆ
หนองฮางเกลือ (รางเกลือ) อยู่ในเขตพื้นที่บ้านคำเกิ้ม ที่ดินแถบนี้จะเป็นดินโป่งดินเค็มชาวบ้านขุดบ่อเอาน้ำไปต้มทำเกลือสินเธาว์ อุปกรณ์การต้มเกลือจะทำเป็นราง หรือฮาง จึงเรียกว่า หนองฮางเกลือ
หนองเปือย ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านโพนแดง (ปัจจุบันร้างไปแล้ว) กับหมู่บ้านคำเกิ้ม เป็นหนองน้ำที่มีต้นเปือย (ตันตะแบก) มาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า หนองเปือย
หนองปลาซิว ตั้งอยู่ติดกับหมู่บ้านโพนแดงมีปลาซิวในหนองน้ำนี้เป็นจำนวนมาก
หนองสิม ตั้งอยู่ถัดจากหนองปลาซิวลงไปทางทิศใต้ แต่ยังอยู่ในเขตบ้านโพนแดง เดิมบริเวณริมหนองน้ำมีวัดมีโบสถ์หรือสิมตั้งอยู่ (เมื่อปี พ.ศ. 2538 มีรถมาขุดตักเอาดินไปถมที่และขุดพบพระพุทธรูปเป็นพระหินแกะสลักแต่แตกเหลือเพียงครึ่งเดียว)
หนองปลาเป้า อยู่ระหว่างบ้านโพนแดงกับดอนกำพร้า (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านอัมพร 2) เป็นหนองน้ำที่ปลาปักเป้าชุกชุมมาก
หนองยาว อยู่บริเวณหมู่บ้านอัมพร 2 มีความยาวมากกว่าหนองน้ำอื่น ๆ
หนองหัวขัว อยู่ระหว่างบ้านโพนบกกับบ้านน้อยหนองเค็มมีสะพาน (ขัว) ข้ามห้วยบริเวณนั้น เพื่อให้การสัญจรไปมาสะดวก จึงเรียกว่าหนองหัวขัว
หนองเรือ อยู่ใกล้กับบ้านน้อยหนองเค็ม เรือหาปลาจะจอดเทียบท่าอยู่หนองน้ำแห่งนี้มาก
หนองเบ็น อยู่ตรงข้ามกับวัดป่าศรีสมพรหรือวัดหัวดง มีต้นเบ็นมากจึงเรียกว่าหนองเบ็น
หนองไผ่ อยู่บริเวณทิศตะวันออกของหมู่บ้านภูเขาทอง ช่วงนี้ห้วยฮ่องฮอจะแคบเข้าเป็นลำน้ำเล็กๆ ริมน้ำกอไผ่ป่าอยู่มาก ไหลผ่านหมู่บ้านน้อยใต้ บ้านหนองจากจันทร์ไปบรรจบกับห้วยบังกอเป็นอันสิ้นสุดของลำน้ำฮ่องฮอเพียงเท่านี้
ปัจจุบันทางราชการได้มีขุดลอกหนองน้ำต่างๆ ที่เกิดจากลำห้วยฮ่องฮอบ้างก็มีการถมที่สร้างฝายและถนนหนทาง ทำให้หนองน้ำหลายแห่งหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านโพนแดง ได้หายไปจากแผนที่จังหวัดนครพนมแล้ว จะมีเพียงคำพูดของชาวบ้านที่เรียกว่าสถานที่ตั้งของหมู่บ้านโพนแดงว่า บ้านฮ้างโพนแดง เท่านั้น ทำไมบ้านโพนแดงจึงต้องร้างไป
ในอดีตบ้านโพนแดงเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ตั้งอยู่ใกล้ลำห้วยฮ่องฮอ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่เศษ ประชากรประมาณ 1800 คน เป็นหมู่บ้านที่มีครัวเรือนหนานแน่น ประมาณ 300 หลังคาเรือน แบ่งเป็น 2 หมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้าน 2 คน
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2474 ได้เกิดอหิวาตกโรค ระบาดอย่างหนัก (ชาวบ้านเรียกว่าโรคห่า) ทำให้ชาวบ้านตายไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่มียารักษาโรคเหมือนในปัจจุบันดังนั้นพวกที่เหลือจึงอพยพทั้งหมู่บ้านไปอยู่ที่อื่นหมดปล่อยให้บ้านโพนแดงร้างไป เรียกว่า บ้านฮ้างโพนแดง จนถึงปัจจุบัน ส่วนชาวบ้านโพนแดงที่อพยพไปนั้น ก็ไปอยู่หมู่บ้านโพนสว่าง บ้านกกต้อง บ้านท่าควาย บ้านหนองบึก บ้านภูเขาทอง บ้านนาสมดี และบ้านนาราชควาย
ในปัจจุบันที่บริเวณบ้านโพนแดง ได้มีการก่อตึ้งวัดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมีนายเรือง วงศ์ดี นายขุนทอง วงศ์คำสี นายเรือง พ่อวงศ์ และชาวหมู่บ้านอัมพร 2 ร่วมกันบูรณะได้ขออนุญาตจากสำนักงานศึกษาธิการอำเภอเมืองนครพนมและคงใช้ชื่อ วัดโพธิ์ศรี ซึ่งเป็นชื่อเดิมชองวัด ในอนาคตคงจะเป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านอัมพร 2 และชาวพุทธทั้งหลาย
www.nakhonpanom.com