หนองแสง หรือ สวนหลวง ร. 9

 

ที่ตั้ง อยู่ที่ตำบลหนองแสง บริเวณระหว่างหลักกิโลเมตรศูนย์ถึงกิโลเมตรที่ 1 ของถนนสายนครพนม-ท่าอุเทน

ประวัติ หนองแสง เป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กเนื้อที่ประมาณ 100000 ตารางเมตรเป็นแหล่งน้ำที่ชาวบ้านหนองแสง บ้านโพนสว่าง บ้านกกต้อง บ้านท่าควาย และบ้านหนองบึกใช้เป็นแหล่งทำมาหากินด้วนการหาปลาและเก็บผัก น้ำที่อุดมสมบูรณ์มาหลายชั่งอายุคน อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของวัวควาย   ที่ต้องอาศัยแหล่งน้ำแห่งนี้มาโดยตลอดอาณาเขตของหนองแสง ทิศเหนือหนองน้ำขึ้นไปจะเป็นแหล่งน้ำแห่งนี้มาโดยตลอดอาณาเขตของหนองแสง ทิศเหนือหนองน้ำขึ้นไปจะเป็นชุมชนของชาวญวนอพยพเมือครั้งเกิดสงครามเดียนเบียนฟูได้มาอาศัยอยู่ จะเป็นป่าเสียส่วนใหญ่และชาวญวนได้อาศัยหนองแสงนี้เป็นแหล่งทำมาหากินและประกอบอาชีพปั้นอิฐมอญจำหน่ายซึ่งจะมีปรากฏ เป็นหลุมเผาอิฐขนาดใหญ่ 3 แห่ง ในบริเวณหนองแสง ด้านทิศเหนือชาวบ้านเล่าว่า เวลาไปหาปลาในหนองแสงต้องระวังไม่ให้ตกหลุมอิฐไว้ให้มาก เพราะแต่ละหลุมมีขนาดลึกมาก ด้านทิศตะวันออกของหนองแสงจะเป็นที่ตั้งของโรงสีไฟ ชื่อโรงสีไทยอีสาน หรือโรงสีไฟเป็น ยูเซียง 2 มีชาวจีนเป็นผู้ดำเนินงาน เป็นโรงสีไฟขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่ง ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว แต่ยังมีเสาปล่องไปปรากฏให้เห็นอยู่ ทางทิศใต้จะเป็นป่ามีบ้านเรือนบ้างเล็กน้อย ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใตเป็นคลองสามารถระบายน้ำจากหนองแสงไปสู่แม่น้ำโขงได้ เมื่อถึงฤดูฝนมีน้ำล้นหนองแสงก็จะไหลลงทางคลองนี้ ทิศตะวันตกมีป่าละเมาะมีต้นไม้นานาพันธุ์ เช่น ต้นคายโซ่ ต้นหนามแท่งต้นกันเกราต้นแสง ต้นพยุง และยังมีเครือเถาที่ชาวบ้านเรียกว่า พิพ่วนขึ้นเต็มไปหมด สามารถกินได้ ส่วนในหนองน้ำจะมีพืชน้ำ เช่น สันตวาแพงพวย บัวเผื่อนและหญ้าน้ำ มีปลาชุกชุมมากอีกด้วย
การเรียกชื่อหนองแสงนั้น เคยมีการศึกษาและการลอบถามจากคนแก่ ที่เล่าชานต่อกันมากก็ยังไม่มีตำนานใด ๆ ชี้ชัดแต่ชาวบ้านยืนยันว่าหนองน้ำแห่งนี้เดิม มีต้นแสงขึ้นอยู่มากมาย ต้นแสงเป็นต้นไม้ขนาดกลางชอบขึ้นอยู่ตามหนองน้ำ มีใบเล็กเขียวชอุ่มตลอดปีชาวบ้านจะนิยมเรียกชื่อหนองน้ำตามพืชที่มีมากในบริเวณหนองน้ำนั้นๆ เช่น หนองเปือยจะมีต้นเปือยหรือต้นตะแบกมาก หนองเป็นจะมีต้นเป็นมากเป็นต้น ซึ่งซื่อหนองแสงก็อาจจะมีที่มาอย่างนี้ก็อาจจะเป็นได้ เพราะหนองน้ำแห่งนี้มีต้นอยู่เป็นจำนวนมาก
ต่อมาภายหลังหนองแสงเริ่มตื้นเขินมาก เนื่องจากทางราชการและชุมชนไม่มีการขุดหลอกและพัฒนา ต้นแสงก็ถูกตัดโค่นลงมาก   ป่าไม้ด้านทิศตะวันตกถูกทำลายด้วยการแผ้วถางถือครอบครองได้ ทางราชการเห็นว่าหนองแสงเป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินผู้ใดจะยึดครองไปเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ได้ จึงแจ้งให้บาทหลวงทราบต่อมาบาทหลวง เอดรัวนำลาภประจำโบสถ์คริสต์หนองแสงในขณะนั้น จึงได้ทำหนังสือเป็นทางการส่งมอบหนองแสงคืนให้แก่จึงให้แก่จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมเป็นผู้มอบจึงได้รักษาไว้เพื่อเป็นที่สาธารณประโยชน์ต่อไปในเวลาต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2507 สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนมได้แยกตัวจากศาลากลางจังหวัดนครพนมไปตั้งสำนักงานเป็นเอกเทศบริเวณป่าละเมาะข้างหนองแสงทางทิศตะวันตกและยังแบ่งที่บางส่วนให้สำนักงานประมงจังหวัดนครพนมไปตั้งด้วยกัน นอกจากนั้นการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดนครพนม ก็ไปสร้างถังประปาอยู่ด้านทิศเหนือหนองแสงเล็กน้อย และเหนือประปาขึ้นไปอีก มีหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขง (นปข.) มาตั้งหน่วยปฏิบัติการขึ้นอีก ทำให้อาณาบริเวณรอบหนองแสงเริ่มมีหน่วยงานทางราชการขึ้น การที่ชาวบ้านจะใช้หนองน้ำแห่งนี้เป็นแหล่งทำมาหากินก็ไม่สะดวก ความสำคัญของหนองแสงจึงเริ่มลดลง

 ในปี พ.ศ. 2530 ในสมัยที่นายอุทัย นาคปรีชา เป็นผู้ว่าราชการจึงหวัดนครพนมรัฐบาลมีนโยบายให้แต่ละจังหวัดสร้างสถานที่เฉลิมพระเกียรติเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 5 รอบ  ทางจังหวัดนครพนมจึงได้กำหนดปรับปรุงขุดลอกหนองแสงพัฒนาเป็นสวนหลวง ร. 9 ขึ้นแล้วมอบให้เทศบางเมืองนครพนมเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำสวนหลวง ร. 9 นั้นได้งบประมาณจาก ความร่วมมือร่วมใจจากทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น จากเงินงบประมาณของจังหวัดนครพนมสี่แสนบาท จากเทศบาลเมืองนครพนมนึ่งแสนบาท จากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชุมชน และบริษัทต่างๆ หลายแห่ง

การดำเนินงานตามโครงการนี้ได้มีการปรับปรุงแหล่งน้ำเพ่อปล่อยพันธุ์ปลาต่างโดยรอบบริเวณจะเป็นสวนสาธารณะมีพรรณไม้นานาชนิด ศาลาพัดผ่อน สะพานข้ามคลองเล็กๆสวนสุขภาพประดับไฟฟ้าตามจุดต่างๆ จัดให้มีเสาไฟขนาดใหญ่ ส่องสว่างทั่งอาณาบริเวณจัดทำรั้วซุ้มประตูและป้ายชื่อย่างสวยงาม เหมือนชุบอย่างสวยงาม เหมือนชุบชีวิตให้หนองแสงฟื้นขึ้น
ในปี 2540 นายองอาจ ทิพย์โฆษิตคุณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี   เมืองนครพนมพร้อมคณะได้จัดทำโครงการพัฒนาสวนหลง ร.9 จังหวัดนครพนม โดยของประมาณจากว่านกลางเพื่อมาปรับปรุงพัฒนาสวนหลวง ร.9 ให้สมบูรณ์แบบในทุกด้าน แล้วก็ได้รับอนุมัติจากทางการเป็นจำนวนเงิน 27 ล้านบาท   (ยี่สิบเจ็ดล้านบาท) จึงได้ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2541 ในยุคของนายพิศิษฐ์ ปิติพัฒน์ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองนครพนม เมื่อดำเนินการก่อสร้างสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วสภาพ และบริเวณสวนหลวง ร.9 จังหวัดนครพนม ก็จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่ว ๆ ไปทั้งจะเป็นสถานที่เชิดหน้าชูตาอีกแห่งของจังหวัดนครพนม
ชื่อของหนองแสงที่หมายถึงหนองน้ำ หรือแหล่งน้ำตามที่มีแระวัติเล่ามานั้นคงจะไม่มีอีกแล้วหนองแสงจะเหลือเป็นเพียงชื่อหมู่บ้านหรือชื่อตำบลหนองแสงในทะเบียนราษฎร์เท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตามแม้หนองแสงจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาสู่สวนหลวง ร.9   ในปัจจุบันก็ตามก็ตาม ชาวบ้านหนองแสงหรือชาวตำบลหนองแสงนั้น   แม้จะเสียดายหนองน้ำที่เคยเลี้ยงชีวิตพวกเขามาตั้งแต่อดีตหลาบชั่วอายุคนจะต้องสูญหายเหลือเพียงตำนานก็ตาม แต่การพัฒนามาเป็นสวนหลวง ร.9 เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วไซร้   ชาวบ้านหนองแสงมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ในบุญบารมีของหนองแสงที่ทำภาระหน้าที่ เพื่อพ่อผู้เป็นพระประมุขของชาติไปตราบนานเท่านาน