จารึกในจังหวัดนครพนม


จารึกในจังหวัดนครพนม

      จารึก   จารึกหมายถึง   การบันทึกลายลักษณ์อักษรลงบนวัสดุถาวร   เช่น   ศิลา   แผ่นโลหะ   แผ่นอิฐ   ฯลฯ   จารึก   เป็นกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่ความกระจ่างของประวัติศาสตร์   ทั้งเป็นสิ่งยืนยันความสำคัญในอดีตของชุมชนนั้น
                     
    จารึกในจังหวัดนครพนม   ระยะเริ่มแรกของการสอบค้นศิลาจารึก   ในจังหวัดนครพนมนั้นเริ่มขึ้นในช่วงราว   ค.ศ. 1882 – 1883   (พ.ศ. 2425 – 2426)   โดยคณะนักสำรัจชาวฝรั่งเศสนำโดยนายเอเจียนแอมมอนิเยซึ่งออกสำรวจหาศิลาจารึก   ในเขตประเทศลาว   สยามเมื่อเดินทางถึงเมืองนครพนมได้ไปพิมพ์เอาจารึกภาษาลาวบนแผ่นหินทรายด้านหลังพระพุทธรูปที่วัดแก่งเมืองและในเขตเมืองไชยบุรี   ได้พบจารึกที่วัดใต้   วัดกลาง   (เอเจียน   แอมอนิเย/ทองสมุทรโดเรและสมหมาย   เปรมจิตต์   แปล)
                        จารึกที่พบในระยะหลังตั้งแต่ราว   พ.ศ. 2450   ลงมา   ส่วนใหญ่จะเป็นจารึก   ใบเสมาและจารึกฐานพระพุทธรูปการค้นพบจารึกครั้งสำคัญอยู่ในช่วงที่องค์พระธาตุพนมล้ม (ศิลปากร. 2522)   ภายในองค์พระธาตุบรรจุวัตถุซึ่งมีอักษรจารึกอยู่เป็นจำนวนมากถึง   1,061   ชิ้น (ไม่รวมที่ชำรุดมาก)   เป็นจารึกฐานบนพระพุทธรูปทั้งโลหะและหินทราย   1,015   องค์   และประเภทแผ่นจารึก   เช่น   จารึกลานเงิน   จารึกบนแผ่นอิฐ   จำนวน   46   ชิ้น
                        จารึกที่บรรจุอยู่ภายในองค์พระธาตุพนม     แบ่งตามเนื้อหาได้    8   ประเภท   ดังนี้
                        พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
                        พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา    และปรารถนาถึงพระนิพพาน
                        พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศไว้กับพระพุทธศาสนาพร้อมทั้งมอบข้าคนให้เป็นข้าวัด
                        พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยขอให้สำเร็จตามความปรารถนา
                        พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเสดาะเคราะห์
                        พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ไหว้นบ
                        พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการทำบุญ
                        การอุทิศสิ่งของไว้ในองค์พระธาตุพนม
                        จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน    ปางมารวิชัยพบในกรุหมายเลข   26   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2191 – 2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน   ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   26   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ. 2225   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน   ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   20   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2232   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา   และปรารถนาถึงพระนิพพาน
                        จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน  ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   21   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2191 – 2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน  ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   20   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2220   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา   และปรารถนาถึงพระนิพพาน
                        จารึกฐานพระพุทธรูปทองคำ    ฐานบุเงิน  ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   20   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2191 – 2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น   เพื่ออุทิศไว้กับพระพุทธศาสนา   พร้อมทั้งมอบข้าคนให้เป็นข้าวัด
                        จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน   ปางมารวิชัย  พบในกรุหมายเลข   15   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยขอให้สำเร็จตามความปรารถนา
                        จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน  ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   26   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2191 – 2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเสดาะเคราะห์    จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน  ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   21   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2232   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ไหว้นบ   จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน  ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   21   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2191 – 2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ไหว้นบ   จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน  ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   20   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2218   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ    กล่าวถึงพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการทำบุญ  จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน  ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   14   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2191 – 2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ    กล่าวถึงพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการทำบุญ  จารึกฐานพระพุทธรูปบุเงิน  ปางมารวิชัย   พบในกรุหมายเลข   15   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2191 – 2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการทำบุญ จารึกแผ่นทอง   :   2518)   พบตอนกลางขององค์พระธาตุพนมช่วงที่   2   จารึกมี   2   ด้านด้านหน้ามีจารึก   1   บรรทัด   เป็นจารึกภาษาบาลี   อักษรลาว   ตัวธรรม   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม(วัชรินทร์   พุ่มพงษ์แพทย์  
                        สาระสำคัญ   ด้านหน้าจารึกคาถา   ปฏิจจสมุปบาท     จารึกด้านหลังมีความตอนหนึ่งว่า   สมเด็จพระสังฆราชาสทฺธมฺมโชตนญาณวิเสด   เป็นผู้ลิขิต   จารึกแผ่นเงินมีดวง(วัชรินทร์   พุ่มพงษ์แพทย์   :   2518)   พบรองอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมตรงกลางของพระธาตุจำลองชั้นล่างที่เป็นหิน   บรรจุอยู่ภายในองค์พระธาตุพนม จารึกระบุศักราชซึ่งเทียบได้กับปี   พ.ศ. 2217   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึง   สมเด็จพระสังฆราชาสทฺธมฺมโชตนญาณวิเสด   เป็นผู้ลิขิต    ขอให้เถิง … ภายหน้า
                        จารึกลานเงิน   พบในกรุหมายเลข   10   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2241   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงการนำอูบพระชินธาตุเจ้า   ที่จันทปุระมาฐาปนาในองค์พระธาตุพนม
                        จารึกลานเงิน   พบในกรุหมายเลข   44   ภายในองค์พระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2238   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   เป็นพระราชสาส์นตราตั้งกล่าวถึงพระราชอาชญาเจ้านครวรกษัติย์ขัติยราชวงศาเจ้าสิทธิพระพรนามแสนจันทรานิทธสิทธิมงคลสุนทรอมร
จารึกบนแผ่นอิฐหมายเลข 4   พบที่วัดพระธาตุพนม จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2191 – 2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
สาระสำคัญ   ชื่อบุคคลคือ   นายแก่นศิลา   จารึกบนแผ่นอิฐหมายเลข 26   พบที่วัดพระธาตุพนม จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2191 – 2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
สาระสำคัญ   กล่าวถึงนางเจียงจูมี   อธิษฐานขอให้ได้สมดังปรารถนา จารึกบนแผ่นอิฐหมายเลข 27   พบที่วัดพระธาตุพนม จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ.   2191 – 2244   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   ชื่อบุคคลคือ   หม่อมจำดวง   จารึกฐานพระพุทธรูปทองคำ   (วัชรินทร์   พุ่มพงษ์แพทย์   :   2518)   พบภายในองค์พระธาตุพนมชั้นที่  2   ระบุศักราชเทียบได้กับ   พ.ศ.2231   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงเจ้านางแสนภูมี   กับทั้งแม่มีปสาธะศรัทธาสร้างพระเจ้าองค์นี้ไว้กับศาสนา   นิพานปจฺจโยโหตุ
                        จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพระธาตุพนม   1   (ธวัช   ปุณโณทก   :   2531)   ปางมารวิชัยสำริด   พบที่อุโบสถวัดพระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรธรรมอีสารและอักษรไทยน้อยระบุ   พ.ศ.   2046   ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ   วัดพระธาตพนม
                        สาระสำคัญ   จารึกบอกศักราชได้   865   ตัว   เทียบได้กับ   พ.ศ.   2046
                        จารึกวัดพระธาตุพนม 2 จารึกใบเสมาหินทราย พบที่ใต้ฐานหอพระแก้ววัดพระธาตุพนม จารึกด้วยอักษรไทยน้อย ระบุ จ.ศ 976 ตรงกับ        พ.ศ. 2157   ปัจจุบันอยู่ในห้องเก็บขอ ง ที่วิหารคดวิดพระธาตุพนม
                        สาระสำคัญ   พระยานครพิชิตธานี พร้อมด้วยท้าวพระยาในท้องถิ่นได้บูรณะวัดพระธาตุพนม และสร้างกำแพงแก้วล้อมรอบพระธาตุ รวมทั้งสร้างถาวรวัตถุอื่น ๆ ตอนท้ายได้สาปแช่งผู้ถือสิทธิ์ครอบครองทำลายทานวัตถุอันได้แก่ ทาสโอกาส ที่ดิน ไร่นาของวัด ในครั้งนี้ได้บูรณะเรือนธาตุชั้นที่ 1 และกล่าวถึงการตกแต่งด้วย
                        จารึกวัดพระธาตุพนม   3 จารึกแผ่นอิฐเผารูปใบเสมา พบที่กุฏิเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพระนม จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   ระบุ จ.ศ 1168    ตรงกับ พ.ศ. 2349 ปัจจุบันอยู่ที่กุฏิรองเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม
                        สาระสำคัญ กล่าวถึงพระยาจันทสุริยวงศา เจ้าเมืองมุกดาหารได้ส่งขุนนางมาช่วยฟืนฟูพระพุทธศาสนาสร้างพระอุโบสถที่วัดพระธาตุพนมเมื่อ พ.ศ. 2349 
                        จารึกวัดพระธาตุพนม 4     จารึกพระพุทธรูปศิลาทราย   พบที่เจดีย์รายด้านทิศตะวันตกขององค์พระธาตุพนม   วัดพระธาตุพนม   จาตึกด้วยอักษรธรรมอีสาน   พ.ศ. 2440   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงหัวครูจันทรา   ได้สร้างพระพุทธรูปศิลาไว้กับวัดพระธาตุพนม
                        จารึกวัดพระธาตุพนม 5   จารึกใบเสมาหินทราย   พบที่ห้องเก็บของภายในวิหารคดวัดพระธาตุพนม   จารึกด้วยอักษรธรรมอีสาน   ระบบจุลศักราช   1283   ตรงกับ   พ.ศ.   2464   ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงเจ้าครูศีลาภิรัตน์   พร้อมกับญาติโยมได้ประดิษฐาน   พัทธสีมาที่วัดพระธาตุพนม
                        จารึกวัดพระธาตุพนม   6   จารึกใบเสมาหินทราย   พบที่บ้านใต้หลังโรงเรียนพนมวิทยาคาร   อำเภอธาตพนม   จังหวัดนครพนม   จารึกด้วยอักษรธรรมอีสาร   ระบุปี พ.ศ. 2466   ปัจจุบันอยู่ที่หน้ากุฏิพระในวัดพระธาตุพนม   อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงเจ้าครูศีลาติรัตน์   พร้อมทั้งคณะสงฆ์และทายกทายิกาทั้งหลายได้พร้อมใจกันสร้างหอสวดมนต์ที่วัดพระธาตุพนม
                        จารึกวัดไตรภูมิ   1   จารึกใบเสมาหินทราย   พบที่วัดใต้เมืองไชยบุรี   จารึกด้วยอักษรธรรมอีสาน   อายุราว   พ.ศ.   2357   ปัจจุบันอยู่ที่วัดไตรภูมิ   บ้านไชยบุรี   อำเภอท่าอุเทน   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ  เจ้าเมืองหงสาวดีพี่น้องซึ่งย้ายมาจากเมืองหงสาหรือหงสาวดี   อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณปากน้ำสงคราม   ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า   เมืองไชยสุทธิอุตมบุรี   และพร้อมด้วยเสนาอมาตย์   ได้พร้อมกันสร้างวัดสุนันท์มหาอาราม
                        จารึกวัดไตรภูมิ ๒ จารึกใบเสมาหินทราย   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ. ๒๓๘๓   ปัจจุบันอยู่ที่วัดไตรภูมิ   บ้านไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   เจ้าเมืองหงสาวดี ๒ พี่น้อง   มาตั้งเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี   (ไชยบุรี) เมื่อปีจอ (พ.ศ. ๒๕๗) และพร้อมใจกันสร้างวัดมหาอุตมนันทอาราม
                        จารึก,นพระพุทธรูปวัดศรีชมชื่น  จารึกฐานพระพุทธรูปสำริด   ซึ่งคงจะอยู่ที่วัดศรีชมชื่นมาแต่เดิม   จารึกด้วยอักษรไทยน้อย   อายุราว   พ.ศ. ๒๓๔๙ ปัจจุบันอยู่ที่กุฏิเจ้าอาวาสวัดศรีชมชื่น   บ้านพิมาน   ตำบลพิมาน   อำเภอนาแก   จังหวัดนครพนม  
สาระสำคัญมหาราชครูคัมภีร์ปัญญาสร้างพระพุทธรูปไว้เพื่อพระพุทธศาสนา และปรารถนาถึงพระนิพพาน
                        จารึกฐานพระพุทธรูปวัดโอกาสศรีบัวบาน  จารึกบนฐานรูปศิลาซึ่งคงจะอยู่ที่วัดโอกาสศรีบัวบานมาแต่เดิม   จารึกด้วยอักษรธรรมอีสาน   อายุราว   พ.ศ. ๒๓๙๘   ปัจจุบันอยู่ที่วัดโอกาสศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   (รัชกาลที่ ๔)   ได้ทรงแต่งตั้งเจ้าอุปราชชื่นเป็นพระพนมนครานุรักษาธิบดีศรีโคตรรบองหลวงเจ้าเมืองนครพนม   จึงสร้างพระพุทธรูปศิลาขนาดหนักเท่าตัวในวันขึ้นครองเมืองนครพนม (ธวัช ปุณโณทก  : ๒๕๓๑)
                        จารึกพระบางพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร    หล่อด้วยทองเหลืองจารึกตัวอักษรลาวเก่า   ระบุปี พ.ศ. ๒๐๐๘   ปัจจุบันอยู่ที่วัดไตรภูมิ อำเภอท่าอุเทน   จังหวัดนครพนม
                        สาระสำคัญ   สมเด็จพระเหมมะวันทากับทังอังเตวาสิ   อุบาสกอุบาสิกา   ได้สร้างพระขนาดเท่าตัวคนไว้เป็นที่สักการบูชา
                        จารึกวัดแก้งเมืองจารึกบนเสมาหินทราย พบที่วัดแก่งเมือง อำเภอเมือง   จังหวัดนครพนม จารึกด้วยอักษรไทยอีสาน (ไทยน้อย)   ปัจจุบันเก็บไว้ที่วัดแก่งเมือง
                        จารึกฐานพระพุทธรูปวัดโพธิ์ศรี  จารึกบนฐานพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยพบที่วัดโพธิ์ศรี   ตำบลในเมือง อำเภอเมือง   จังหวัดนครพนม เมือเดือนกันยายน ๒๕๔๓   จารึกด้วยอักษรไทย-ธรรมอีสาน ระบุศักราช ๒๐๖๖ (จ.ศ. ๘๘๕) ปัจจุบันทึกเก็บไว้ที่วัดโพธิ์ศรี
                        สรุปว่า  จารึกที่พบในจังหวัดนครพนมนั้น   มีอายุช่วงปลายอยุธยา-ต้นระตนโกสินทร์   สามารถจัดแบ่งตามกลุ่มตัวอักษรได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ
                        ๑. อักษรไทยน้อย  จารึกกลุ่มนี้   จัดอยู่ในช่วงราว ปี พ.ศ. ๒๐๔๖-๒๔๖
                       ๒. อักษรธรรมอีสาน    จารึกกลุ่มกลุ่มนี้ จัดอยู่ในช่วงราว ปี พ.ศ. ๒๐๔๖-๒๓๘๓
                        ตำนาน   ตำนานเป็นเรื้องเล่าสืบต่อกันมาช้านาน   มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับอิทธิปาฎิหาริย์หรือวีรกรรมของบรรพบุรุษอันเป็นที่มาของวัตถุหรือสถานที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่นจังหวัดนครพนม มีอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม)   เป็นตำนานหรือนิทานพื้นบ้านเก่าแก่   นายพิเศษ เจียจันทร์พงษ์   ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถาน    กรมศิลปากรวิเคราะห์เนื้อหาของตำนานไว้ว่าน่าจะแต่งขึ้นราวช่วง    จศ. ๙๙๕-๑๐๐๐ หรือตรงกับปี พ.ศ.
๒๑๗๖-๒๑๘๑ โดยมีจุดประสงค์เป็นการยอพระเกียรติพระเจ้าสุริยวงศา   กษัตริย์ผู้ที่เข้ามาระงับความยุ่งยากภายในอาณาจักรลาว   และได้ขึ้นครองเมืองเวียงจันทน์ต่อมา   ผู้แต่งคือพระยาศรีไชยชมพู ข้าราชสำนักลาว   สมัยพระเจ้าสุริยวงศานั่นเอง
                        วิธีการเรียบเรียงมีลักษณะเช่นเดียวกับตำนานของทางล้านนา   ส่วนลำดับเนื้อหาเรียงกันอย่างมีระเบียบตามกาลเวลาที่ตำนานได้สมมติขึ้น   คือเริ่มด้วยพุทธทำนาย ช่วงก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน   หลังพระพุทธเจ้านิพพาน   และร่วมระยะเวลาเดียวกันกับพระเจ้าอโศก ในตอนท้ายของตำนานได้รวมคติความเชื่อเก่าด้านต่าง ๆ ที่กระจาย ในดินแดน ๒ ฝั่งโขงเข้าไว้ด้วยเป็นต้นว่า นิทานปรัมปรา   (Myths)    ที่เกี่ยวกับการเกิดรอยพระบาทในสถานที่สำคัญทางศาสนา เช่น ตำนานพระธาตุพนม     บาทลักษณะนิทานเรื่องราวการเกิดรอยพระบาทในสถานที่ต่างๆ ศาสนนครนิทาน เช่น กำเนิดเมืองเวียงจันทน์   และเมืองร้อยเอ็ด เป็นต้น สำคัญที่สุด คือ   ตำนาอุรังคธาตุได้สะท้อนแนวความคิดของคนที่มีต่อดินแดนที่ตนตั้งถิ่นฐานอยู่ และแสดงถึงความถึงความสัมพันธ์ทีมีต่อดินแดนข้างเคียงด้วย
                        ตำนานรอยพระพุทธบาทเวินปลา   พระพุทธบาทเวินปลาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นบาทลักษณะนิทานปรากฏในตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงว่า   แต่นั้นพระพุทธองค์จึงเสด็จไปสู่เมืองศรีโคตรรบองเพียวที่อยู่แห่งพญาปลาตัวหนึ่งพญาปลาตัวนั้นได้เห็นพระรัศมีของพระพุทธองค์จึงได้พาบริวารล่องไปตาม   พระพุทธองค์ทรงเห็นการณ์ ดังนั้นจึงแย้มพระโอษฐ์ เจ้าอานนท์จึงทูลถามว่า พระองค์ทรงแย้มพระโอษฐ์ด้วยเหตุอันใด พร่ะพุทธองค์ตรัสว่า ตถาคตเห็นพระยาปลาตัวหนึ่งพายริวารมาถึงฝั่งน้ำที่นี้ และพญาปลาตัวนี้เมื่อเป็นมนุษย์ได้บวชในสำนักพระพุทธองค์ เชื่อว่า กัสสป ได้มาถึงแม่น้ำที่อยู่นั้น   ภิกษุรูปนั่นได้เด็ดใบไม้กรองน้ำฉัน เมื่อใกล้จุติมีความกินแหนง ในการที่ได้กระทำนั้นจึงได้มาเกิดเป็นพญาปลาอยู่ในแม่น้ำนั้น เมื่อมันได้เห็นรัศมีและได้ยอนเสียงฆ้อง  กลอง แส่ง   จึงได้ออกมาจากที่อยู่เป็นอาจิณ ด้วยเหตุว่ามีนเคยได้ยินสัททารมณ์อันดีมาแต่ก่อนจึงได้รู้สัพพสัญญานั้น ๆ และปลาตัวนี้จะมีอายุยืนตลอดถึงพระอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า จึงจักได้จุติจากชาติอันเป็นปลามาเกิดเป็นมนุษย์ แล้วออกบวชเป็นภิกษุในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
                                        เมื่อพญาปลาตัวนั้นได้ยินพระพุทธพยากรณ์อันนี้ก็ชื่นขมยินดียื่งนัก จึงมาคำนึงนึกแต่ในใจว่าอยากจะได้รอยพระบาท ของพระศาสดาไว้เป็นที่สักการะ พระพุทธองค์ทรงทราบจึงทรงพระเมตตาอธิษฐานรอยพระบาทไว้ที่โหง่นหินในน้ำที่นั้น คนทั้งหลายจึงเรียกที่นั้นว่าพระบาทเวินปลามาเท่ากาลบัดนี้ (อุรังคธาตุตำนาน พระธาตุพนม 2537)