จิตรกรรมฝาผนังวัดพระธาตุประสิทธิ์


จิตรกรรมฝาผนังวัดพระธาตุประสิทธิ์

จิตรกรรมฝาผนังวัดพระธาตุประสิทธิ์
                        ที่ตั้ง  จิตรกรรมฝาผนังวัดพระธาตุประสิทธิ์   บ้านนาหว้า   อำเภอนาหว้า
                        ประวัติ   วัดพระธาตุประสิทธิ์   เกิดขึ้นหลังจากที่ชาวบ้านนาหว้าซึ่งเป็นชนเผ่าญ้อได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานประมาณปี พ.ศ. 2112   ถึงบริเวณนาหว้าในปัจจุบันและจากการสำรวจบริเวณเพื่อการตั้งถิ่นฐานนี้เองจึงได้พบพระธาตุเก่าแก่องหนึ่งไม่ปรากฏหลังฐานว่าสร้างแต่เมื่อใดแต่พบพระพุทธรูปเก่าแก่สวยงามหลายองค์ภายในอุโมงค์พระธาตุ   นอกจากนั้นยังพบซากปรักหักพังของโบสถ์   วิหาร   กุฏิ   ชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมาใหม่   หลังซ่อมแซมพระธาตุให้สวยงาม    รวมทั้งโบสถ์   วิหาร   กุฏิ   จนกระทั่งกลายเป็นสถานที่เคารพสักการบูชาที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง
                        หลักฐาน    ศาลาการเปรียญซึ่งอยู่ด้านข้างองค์พระธาตุประสิทธิ์มีรูปทรง   สวยงามแปลกตา   ภายในศาลาปรากฏภาพเขียนเป็นภาพพุทธประวัติ   ตั้งแต่ประสูติ   ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยแบ่งเป็นตอน ๆ   ดังนี้
                        ตอนที่   1           ประสูติ
                        ตอนที่   2           ลองศร
                        ตอนที่   3           อภิเษก
                        ตอนที่   4           ออกชมสวน
                        ตอนที่   5           เสด็จออกบรรพชา
                        ตอนที่   6           ตัดพระโมฬี
                        ตอนที่   7           บำเพ็ญทุกรกิริยา
                        ตอนที่   8           ถวายข้าวมธุปายาต
                        ตอนที่   9           มารผจญตรัสรู้
                        ตอนที่   10         โปรดปัญจวัคคีย์
                        ตอนที่   11         เสด็จเยี่ยมพระนางพิมพา
                        ตอนที่   12         นิพพาน
                        ภาพพุทธประวัติทั้ง   12   ภาพ   โครงสีส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง   น้ำตาล   ดำ    ซึ่งเป็นสีฝุ่นที่ภาพแรกปรากฏชื่อว่าเป็นฝีมือของ   ม.ล.มรกต   บรรจงราชฯ   มีนายสิงห์   วะชุม   เป็นผู้ช่วย   ปี   พ.ศ.   ใดไม่ได้แจ้งไว้แต่ศาลาการเปรียญนี้สร้างเมื่อ   พ.ศ. 2493   ภาพเขียนก็คงจะหลังจากปี   2493   ส่วนเสาของศาลาการเปรียญเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่แต่ละด้านของเสามีภาพสาวกของพระพุทธเจ้าทุกเสา   องค์สาวกห่มจีวรสีเหลืองสดใส   มีพื้นหลังเป็นฟ้าครามทุกกภาพ   ด้านบน – ล่างองค์สาวกประดิษฐ์ลวดลายไทยด้วยสีน้ำตาล   เหลือง   พื้นสีฟ้าคราม   แต่ละภาพไม่ปรากฏนามผู้วาด   แต่จากลักษณะภาพเปรียบเทียบกับภาพที่ผนัง   ซึ่งเป็นเรื่องพุทธประวัติแล้วน่าจะเป็นคนละคนกันและคนละสมัยด้วย   เพราะลักษณะของลายเส้นและการใช้สีต่างกัน