สถาปัตยกรรมดีเด่น
สถาปัตยกรรมดีเด่น สถาปัตยกรรมในจังหวัดนครพนมนั้น มีหลายแห่งที่สวยงามโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเป็นแบบตะวันตก เพราะได้รับอิทธิพลในรูปแบบการก่อสร้างจากฝรั่งเศส ช่วงสมัยสงครามอินโดจีน
ลักษณะของสถาปัตยกรรมจะเป็นประตูโค้งครึ่งวงกลมหน้าต่างโค้ง เหนือประตูหน้าต่างจะเป็นลายปูนปั้น หรือแกะสลัก หลังคาไม่ลาดชันนัก หารมีเสก็จะเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ทั้งสิ้น
อาคารสถาปัตยกรรมที่จัดว่าดีเด่น ได้กี่ อาคารศาลากลางจังหวัดนครพนมหลังเก่า เนื่องจากแม้จะมีอายุที่เก่าแก่มากแล้ว แต่ยังคงรักษาสภาพและความสวยงามต่าง ๆ ไว้ ได้อย่าดีและในปี 2540 ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ด้วย อีกหลังหนึ่งคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดหลังเก่ามีระยะการก่อสร้างใกล้เคียงกั่น รูปแบบคล้า ย ๆ กัน มีความสง่างาม และยังคงความสวยงามจนถึงปัจจุบัน
จวนผู้ว่าราชการจึงหวัดนครพนมหลังเก่า
ที่ตั้ง ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ประวัติ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมหลังเก่านี้ สร้างขึ้นโดยพระยาพนมนครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรภ) ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคนแรก
ลักษณะสถาปัตยกรรม จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมหลังเก่าเป็นตึก 2 ชั้น ทรงจั่ว ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องไทย พื้นชั้นล่างปูกระเบื้องซีเมนต์ลาย พื้นชั้นบนปูกระดานเข้าลิ้น เครื่องไม้ที่ประกอบในการก่อสร้างเป็นไม้ตะเคียน เมื่อนำไปประกอบกับการหาค่าอายุโดยอ่านจากแนวแม่เหล็กโลกสมัยโบราณ (Palaeomagetism) ซึ่งไม้และดินเผาที่สร้างได้จากส่วนที่เหลือจากการก่อสร้างศาลากลางจังหวัดนครพนมหลังเก่า ระยะเวลาการก่อสร้างก็คงอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2458 – 2458 มีอาณาบริเวณโดยรอบ ประมาณ 4 ไร่เศษ ผู้ก่อสร้างเป็นชาวญวน ชื่อนายกูบา เจริญ เมื่อปี พ.ศ. 2483 ครั้งที่ไทยเกิดกรณีพิพาทดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ฝรั่งเศสได้นำเครื่องบินมาทิ้งระเบิดลงที่นครพนม ตัวอาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัดมิได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน และสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จประพาสภาคอีสาน เมื่อมาถึงจังหวัดนครพนม จวนผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นเรือนฝรั่งเศส ได้ถูกตบแต่งปรับปรุงใหม่ เพื่อให้เป็นที่ประทับของล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2527 จึงได้ย้ายจวนผู้ว่าราชการจึงหวีดไปพักที่บ้านพักรับรองของ กอ.รมน. ซึ่งต่อมาได้ถูกใช้เป็นสมาคมนักปกครองจังหวัดนครพนมระยะหนึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นที่จั้งชมรมลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งได้แดใช้เป็นครั้งเป็นคราว ในยามที่มีการเรียกประชุมเท่านั้น
ศาลากลางจังหวัดนครพนม (หลังเก่า)
ที่ตั้ง ถนนอภิบาลบัญชา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ประวัติ ศาลากลางจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) เริ่มสร้างครั้งแรกในปี พ.ศ. 2458 ในสมัยที่พระยาพนมนครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรภ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด (และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคนแรก) แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2462
ลักษณะสถาปัตยกรรม
ตัวอาคารใช้แบบแปลนของศาลากลางจังหวัดเชียงราย มีลักษณะเป็นตึกสอง ชั้นครึ่ง ก่ออิฐถือปูนไม่มีเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ส่วนประกอบโครงสร้างต่าง ๆ เป็นไม้รูปทรงอาคารเป็นแบบตะวันตก ช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างคือ นายสุมังค์ ปทุมชาติ อดีตปลัดอำเภอ มีช่างชาวญวนคือนายก่าย เป็นหัวหน้าใช้แรงงานนักโทษในการก่อสร้าง
ปีพ.ศ. 2483 ในสมัยที่ พันตรี ขุนทยานรานรอน เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสระดมปืนใหญ่ยิงจากเมืองท่าแขกข้ามแม่น้ำโขงมาทำลายเมืองนครพนม ทำให้ตัวอาคารด้านหน้าบริเวณชั้นสองถูกลูกปืนใหญ่เสียหาย เป็นช่องกว้างประมาณ 1 เมตร และมีรอยร้างหลายแห่ง
ปี พ.ศ. 2519 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา
หลังจากนั้นมา ศาลากลางจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) ก็ได้รับการปรับปรุงและก่อสร้างเพิ่มเติมมาโดยตลอด จนกระทั่งจังหวัดได้รับงบประมาณในการก่อสร้างศาลากลางหลังใหม่และใช้แทนหลังเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ส่วนศาลากลางหลังเก่า กรมศิลปากรได้ ปรับปรุงซ่อมแซมและใช้เป็นที่ทำการของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ นครพนม สังกัด หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2540 อาคารหลังนี้ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นประเภทรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมในด้านอาคารสาธารณะจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
www.nakhonpanom.com