ประติมากรรม
ประติมากรรมวัดพระธาตุพนม
งานประติมากรรมที่องค์ธาตุชั้นล่าง ทั้ง 4 ด้าน ส่วนใหญ่จะเป็นภาพจำหลักรูปกษัตริย์ทรงม้าหรือทรงช้าง อาจประทับนั่งหรือยืน ลวดลายที่แวดล้อมเป็นลวดลายกนกบ้างหรือลายเครือเถาแบบลายผักกูด แต่ลวดลายจะผิดแยกกันคือ ทั้ง 3 ด้าน มีลวดลายกนก ที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน แต่ด้านเหนือจะเป็นลวดลายเครือเถาที่งดงามและมีฝีมือช่างสูง เป็นการแกะสลักบนอิฐเผา นูนต่ำ ที่สวยงามและมีความสมบูรณ์เพียงแห่งเดียวที่เหลืออยู่
ลวดลายกนก เป็นลายที่จำหลักด้วยช่างฝีมือสูง ซึ่งอาจเป็นศิลปินชั้นครู ลักษณะการจัดเถาจัดจังหวะตลอดจนการมากตัวกนก และการปิดม้วนกลับของยอดกนกดูอ่อนช้อยงดงามคล้ายกับลายกนกปูนปั้นสมัยทวารดีในภาคกลาง เช่นที่นครปฐมและคูบัว (ราชบุรี)
งานประติมากรรมทั้ง 4 ด้าน ของพระธาตุพนมจะเห็นว่าลักษณะรูปทรงของช้างที่กำลังเดิน และม้าที่กำลังวิ่งดูมีชีวิตชีวาและเป็นธรรมชาติมาก ส่วนรูปคนทั้งกษัตริย์ และบริวารมีลักษณะเตี้ยล่ำสัน เอาไว้ผมมวยด้านหลังคล้ายพราหมณ์ไม่สวมเสื้อ ซึ่งแต่ละรูปไม่มีเครื่องประดับ หน้าตาเป็นชนพื้นเมือง
สำหรับประตูทั้ง 4 ด้านนั้นเหนือประตูจัดเป็นซุ้มลายโค้ง เป็น 3 โค้งติดต่อกันปลายซุ้มมีรูปสิงห์ยืนทั้ง 2 ด้าน ภายในของซุ้มประตูแต่ละด้านข่างแกะสลักภาพประดับ
ลวดลายสลักเหล่านี้สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นต้นแบบของงานประติมากรรมทางศาสนาในภาคอีสานรุ่นต่อ ๆ มา เช่น งานปูนปั้นประดับองค์พระธาตุแห่งที่สร้างขึ้นในสมัยของพระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ พระภิกษุที่มีชื่อเสียงองค์หนึ่งของชาวอีสาน
ประติมากรรมนูนต่ำ บนกำแพงแก้วด้านนอกที่วัดพระธาตุท่าอุเทนลักษณะเป็นศิลปะพื้นบ้านอีสานนั้นเป็นเรื่องราวได้แก่ สุภาษิต คำพังเพย นรกสวรรค์ ดังตัวอย่าง
ภาพที่ 1 – ด้านขวามือสุด หมายถึง ผู้ที่ชอบอวดอ้างตัวเองว่า เป็นผู้เก่งกล้าสามารถ
ภาพถัดมา เป็นภาพ หาบช้าง ซาแมว หมายถึงบุญกับบาป กระทำดีจะได้บุญซึ่งจะมาน้ำหนักมากกว่าคนทำบาปจะได้น้ำหนักน้อย
www.nakhonpanom.com