สถาปัตยกรรม วัดหัวเวียงรังษี


สถาปัตยกรรม วัดหัวเวียงรังษี

                        ที่ตั้ง   บ้านพระกลางทุ่ง   ตำบลธาตุพนม   จังหวัดนครพนม
                        ประวัติ   สิมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า   ก่ออิฐสอปูน   และฉาบด้วยปูนชะทายโบราณบริเวณฐานเอวขันส่วนที่เป็นโบกคว่ำ – โบกหงาย   ใช้ปาดอิฐให้ได้รูปตามความต้องการ   ขณะที่อิฐยังดิบอยู่   สัดส่วนของฐานได้จังหวะจะโคนสมบูรณ์ครบถ้วน   ในคุณต่าศิลปะอีสาน   พื้นถิ่นมีสิ่งพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ   เหนือเอวขันตรงส่วนผนังหักมุมทั้งสี่มุมช่างปั้นปูนเป็นกระจังตาอ้อยหักฉาบประดับไว้โครงสร้างหลังคาใช้ไม้เนื้อแข็งมุงด้วยแป้นเกล็ด   แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นสังกะสีบานประตูแกะไม้เป็นลายพญานาคลำตัวสะดุ้งโค้งออกหันหัวแตะกัน   โดยหันหน้าออกเป็นคู่ ๆ   ลักษณะโค้งเป็นรูปไข่ทั้งสองบาน   ลายเป็นลายตื้น ๆ   หยาบ ๆ   หน้าต่างก็มีด้านละ   2   บาน   แท่นพระประธานก่อยาวตลอดความกว้างของสิม   ส่วนที่ช่างพื้นบ้านรุ่นใหม่ต่อเติมขึ้นคือมุขหน้ายื่นออกมา   4   เมตร   ใช้เสา   8   ต้น   ลดมุขเลียนหลังคา   จั่วเดิมหน้าจั่วตีไม้ทับแนวทางนอนนหยาบ ๆ   เป็นการต่อเติม   เพื่อการใช้พื้นที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการอุปสมบท   ลักษณะทางโครงสร้างไม่ประสานกลมกลืนกับตัวสิมเก่า   อาจทำขึ้นตอนรื้อหลังคา   เปลี่ยนจากแป้นเกล็ดเป็นสังกะสีก็อาจเป็นได้
                        สิมหลังนี้มีใบเสมา   3   ใบ   ฝังไว้เคียงกัน   ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปทองสำริดสกุลพุทธศิลป์ล้านช้าง   2   องค์
                        อายุ   สิมหลังนี้สร้างขึ้นในราว   พ.ศ. 2370   (อาจอยู่ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือก่อนไปถึงสมัยกรุงธนบุรี)