แหล่งโบราณคดีบ้านโปร่ง
แหล่งโบราณคดีบ้านโปร่ง
ที่ตั้ง อยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 หมู่บ้าน คือ บ้านโปร่ง บ้านอุ่มเหม้า และบ้านข้าวหลาม ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะเป็นเนินเดินกลางทุ่งนาเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 1 ไร่ ด้านทิศตำวันออกของเนินมีห้วยคำฮีไหลผ่านไปลงยังหนองโอดและห้วยบงซึ่งไหลออกสู่แม่น้ำโขง
หลักฐาน แหล่งโบราณคพีแห่งนี้เป็นที่ตั้งของกลุ่มใบเสมาหินทรายเดิมมีจำนวน 8 ใบ ได้สูญหายไปแล้ว 1 ใบ ลักษณะใบเสมา ทรงสั้น สูงเหนือดินขึ้นมาไม่เกิน 108 เซนติเมตร ส่วนยึดค้งมนบริเวณกึ่งกลางใบมีลายสลักรูปสันนูน บางใบเรียบไม่มีลวดลายเกือบทุกใบจะมีจารึกตัวอักษรธรรมเป็นจารึกที่นักปราชญ์โบราณสร้างสรรค์เป็นผลงานด้วยจิตยึดมั่นศรัทธาบอกเล่าเป็นเรื่องราวที่นับเนื่องในพระทุทธศาสนา ลักษณะตัวอักษรนั้น มีหลายกลุ่มทั้งอักษรธรรมอีสาน อักษรธรรมล้านนา และตัวหนังสือ
ในเบื้องต้นนั้นสามารถอ่านจารึกได้เพียงใบเพียงท่านั้น เป็นอักษรธรรมอีสาน อ่านว่า วะสะนะ แปลว่า วาสนา ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่า สวัสดิ์ว่ารุ่งเรือง ความเจริญและลาภผล เมื่อพิจารณาความหมายของตัวอักษรธรรม ควบคู่กับตำแหน่งการจัดวางใบเสมาแล้ว หากตัวอักษรที่เหลือจะเป็นคำว่า ชย=ชัยชนะ ลาภ=การได้รับ ฤทธิ=อำนาจ จารึกบนใบเสมากลุ่มนี้จะหมายถึงมงคล 8 ประการนั่นเอง อายุไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 21 ประมาณรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งประเทศลาว
www.nakhonpanom.com